สารเคมีต่อต้านมะเร็งที่พบในธรรมชาติ
(แอนติแคนเซอร์ เคมีคัลส์)
จากหนังสือ “เมื่อหมอเป็นมะเร็ง” โดยธันย์ โสภาคย์
กลุ่มที่ 1 แอนติออกซิแดนท์ (ตัวต้านปฏิกิริยาเติมออกซิเจน) ออกฤทธิ์ต้านพิษของโมเลกุล ที่เรียกว่า ฟรีแรดิคัลส์ (อนุมูลอิสระ)
ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการเมตาโบลิซึ่มตามปกติ อันเนื่องจากการถูกแสงแดดจัด เอกซเรย์ ยาสูบ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์และจากเครื่องยนต์อื่นๆ
โดยที่ ฟรีแรติคัลส์ มีลักษณะไม่อยู่ตัว เปรียบเสมือนอันธพาลที่จ้องทำลายเยื่อผนังเซลล์ และทำลายดีเอ็นเอของเซลล์ ทำให้เซลล์กลายตัว (มิวเตชั่น) เป็นมะเร็งได้
นอกจากนั้นฟรีแรติคัลส์ยังสามารถรวมตัวเองกับสารบางอย่างในร่างกาย ทำให้เกิดเป็นตัวสร้างมะเร็ง (คาร์ซิโนเจน) ได้อีกด้วย
แอนติออกซิแดนท์มีหลายตัว ทั้งที่เกิดขึ้นเองภายในร่างกาย และที่ร่างกายได้รับจากภายนอก ได้แก่สารเสริมอาหารจำพวกวิตามิน มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี และสารประกอบอื่นๆ อีก
การออกฤทธิ์ วิตามินอี เข้าฝั่งในเยื่อเซลล์เสมือนเกราะหุ้มป้องกันพิษแรดิคัลส์ สารอื่นๆ ออกฤทธิ์ป้องกันขัดขวางกระบวนการเกิดฟรีแรดิคัลส์ตั้งแต่ต้น
มะเร็งเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสียสมดุล เช่น ปัจจัยแวดล้อมเป็นพิษ ทำให้ฟรีแรดิคัลส์ได้เปรียบในการทำลายเซลล์ปกติจนกลายเป็นมะเร็งได้ นักวิทยาศาสตร์ทางอาหารเชื่อว่าแอนติออกซิแดนท์สามารถหยุดยั้งพิษของฟรีแรดิคัลส์ อีกทั้งต้านฤทธิ์ของคาร์ซิโนเจนอื่นๆ ได้
กลุ่มที่ 2 สารเคมีต้านมะเร็ง พบได้ในผัก ผลไม้ และลูกนัทตามธรรมชาติ เป็นสารที่เรียกว่าไฟเคมิคัลส์ สารกลุ่มนี้สามารถป้องกันพืชไม่ให้เกิดโรคหรือมะเร็ง (พืชก็เป็นมะเร็งได้)
และเมื่อเรากินอาหารที่มีสารกลุ่มนี้ก็จะสามารถคุ้มกันมะเร็งและสามารถกำจัดการเติบโตขยายตัวของมะเร็งได้ สารเคมีที่สำคัญได้แก่
ซัลโฟราเฟน เป็นสารเคมีที่มีพลังสูงในการต้านมะเร็ง พบได้ในบร็อกโครี และพืช ผักจำพวกกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรัสเซลสเปราท์
และผักที่มีรูปร่างกลมๆ อย่างอื่น ซัลโฟราเฟนออกฤทธิ์เร่งเอนไซม์ ที่ทำหน้าที่ต่อต้านมะเร็งในร่างกายทำให้กำจัดคาร์ซิโนเจนออกไปจากเซลล์ได้
อัลลีลิค ซัลไฟด์ เป็นสารเคมีที่พบในกระเทียม หัวหอม ออกฤทธิ์เร่งเอนไซม์ในกระบวนการต้านมะเร็งเช่นกัน
เจนิสไตน์ เป็นสารเคมีที่มีพลังสูง ออกฤทธิ์ต่อต้านการงอกของหลอดเลือดแดงรอบๆ ก้อนมะเร็งที่เกิดใหม่ๆ เป็นผลให้มะเร็งไม่สามารถเติบโตได้ เป็นเซลล์กลุ่มย่อยอย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้น โดยไม่กลายเป็นก้อนใหญ่ที่คุกคามชีวิตได้
นอกจากนั้นเจนิสไตน์ยังออกฤทธิ์ต้านการเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยตรงและออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย จึงใช้อธิบายว่าทำไมสตรีญี่ปุ่นจึงไม่ใคร่เป็นมะเร็งเต้านมมากเท่าสตรีทางตะวันตก
ทั้งนี้เพราะคนญี่ปุ่นกินอาหารที่มีเจนิสไตน์สูงเป็นประจำไม่ใช่อะไรอื่ร ได้แก่ ถั่งเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง รวมทั้งพืชผักที่มีรูปร่างกลมๆ อีกด้วย
ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุที่ต่อต้านการเกิดลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว อีกทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งเต้านม รังไข่ และปอด
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุอีกตัวหนึ่ง ซึ่งป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยกลบเกลื่อนฤทธิ์ของน้ำดีและสารพิษอื่นๆ ที่ทำอันตรายต่อเซลล์ของลำไส้ใหญ่
นอกจากนี้ยังมีสารเคมีตัวอื่นๆในกลุ่มไฟโตมีคัลส์ (สารเคมีจากพืช) อีกมาก
อนึ่ง ควรทราบว่าทั้งแอนติออกซิแดนท์และไฟโตเคมิคัลส์ไม่เพียงต่อต้านมะเร็งได้เท่านั้น แต่ยังป้องกันโรคร้ายอื่นๆ หลายอย่าง ตั้งแต่ต้อกระจกถึงหัวใจวาย และโรคของระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์ได้ด้วย
สารเคมีต่อต้านเซลล์มะเร็งที่พบในผลไม้ พืชผัก และลูกนัท
โอเมก้า 3 (กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน)
สเตอรอลจากพืช(ต้นกำเนิน วิตามันดี)
Cr: มหันตภัยจากการบริโภคของมนุษย์