หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต
หน้าที่สำคัญของคาร์โบไฮเดรต คือให้พลังงาน แต่คาร์โบไฮเดรตยังทำหน้าที่ในการป้องกันกล้ามเนื้อ
เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ร่างกายจะมองหากลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตก่อน เป็นอันดับแรก
แต่ถ้าไม่มีกลูโคส เนื่องจากคุณกำลังจำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือร่างกายมีปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถใช้คาร์โบไฮเดรตได้ ร่างกายจะเริ่มดึงกลูโคสที่ถูกสะสมอยู่ในรูปของกลัยโคเจนมาใช้
จากนั้นก็จะเผาไหม้เนื้อเยื่อโปรตีน (กล้ามเนื้อ) ถ้าร่างกายดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อไปใช้เป็นเวลานานๆ ก็อาจทำให้ร่างกายขาดพลังงานและถึงกับเสียชีวิตได้
.
การได้รับคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอจะทำให้ร่างกายไม่ต้องดึงพลังงานที่สะสมตามกล้ามเนื้อไปใช้ และนี่เองคือเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงเรียกคาร์โบไฮเดรตว่า “โปรตีนสำรอง” นอกจากนี้ คาร์โบไฮเดรตยังมีหน้าที่สำคัญอื่นๆ อีกได้แก่
- ควบคุมปริมาณน้ำตาลที่ไหลเวียนในกระแสเลือด เพื่อว่าเซลล์จะสามารถได้รับพลังงานที่จำเป็น
. - ให้สารอาหารแก่แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้เล็ก เพื่อให้การย่อยอาหารเป็นไปด้วยดี
. - ช่วยในการดูกซึมแคลเซียมของร่างกาย
. - ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และปรับความดันเลือด
ความต้องการคาร์โบไฮเดรต
จากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ปี พ.ศ. 2546 โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำว่า ร่างกายควรได้รับคาร์โบไฮเดรต รัอยละ 45 – 60% ของพลังงานที่ร่างกายได้รับต่อวัน สำหรับเด็กทุกกลุ่มอายุ และผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิง
คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี ในการหาจำนวนแคลอรีจากคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหาร ให้คูณจำนวนกรัมด้วย 4 เช่น ขนมปัง 1 ชิ้น มีคาร์โบไฮเดรต 38 กรัม จะให้พลังงาน 152 แคลอรี่ (38 x 4) แต่หากเป็นเส้นใยอาหารในขนมปังจะไม่ให้พลังงาน เพราะร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้
คาร์โบไฮเดรตกับบุคคลกลุ่มพิเศษ
บุคคลบางกลุ่ม มีปัญหาในการจัดการกับคาร์โบไฮเดรต เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอที่จะนำพากลูโคสทั้งหมดที่ได้จากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย
ผลก็คือ กลูโคสจะยังคงเหลืออยู่ในกระแสเลือดจนกระทั่งถูกขับออกมาทางไต
ดังนั้น วิธีหนึ่งในการทดสอบว่าใครเป็นเบาหวาน ก็คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
พบว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรตได้ เนื่องจากร่างกายขาดเอนไซม์บางอย่าง ที่จะแตกพันธะโมเลกุลน้ำตาลแลคโตสซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้แตกแลคโตส (น้ำตาลในนม) ให้เป็นกลูโคสและกาแลคโตส
ถ้าคนพวกนี้ดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม จะมีปัญหาในการย่อยแลคโตสในลำไส้ ซึ่งแลคโตสที่ไม่สามารถย่อยได้นี้จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของพวกแบคทีเรีย และแบคทีเรียเหล่านี้ก็จะผลิตของเสียที่ทำให้เกิดแก๊สและเป็นตะคริวในกระเพาะอาหาร
Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น