รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

วิตามินเอ(เบตาแคโรทีนในอาหารจากพืช)

เบตาแคโรทีน คือสารตั้งต้นของวิตามินเอ

แหล่งอาหารที่พบ

เบตาแคโรทีน : มักพบมากในแครอท ฟักทอง มะเขือเทศ กล้วย มะม่วงสุก มะละกอสุกและผักใบเขียว  (เบตาแคโรทีน 6 ไมโครกรัมจะให้วิตามิน 1 ไมโครกรัม)

 

หน้าที่

วิตามิน A  เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเซลล์ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง (ตา จมูก ปาก คอ ช่องคลอด และทวารหนัก)

เป็นวิตามินที่ช่วยในการมองเห็นและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รักษาสุขภาพของผิวหนังและเยื่อเมือก เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ และท่อปัสสาวะ แคโรทีนทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญในร่างกาย

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน

800 ไมโครกรัม

อาการเมื่อขาด

มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน ติดเชื้อได้ง่าย ระบบทางเดินหายใจทำงานผิดปกติ เยื่อบุตาขาวแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง และอักเสบลามถึงตาดำ ถ้าขาดรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้

อาการเมื่อเกิน

เซื่องซึม ผมร่วง ปวดศีรษะ และอาเจียน ตับและกระดูกถูกทำลาย มีโอกาสแท้งและทารกเกิดมาพิการ ถ้าได้รับแคโรทีนมากๆ อาจทำให้ผิวเป็นสีเหลือง

รายชื่อผักที่มี วิตามินเอสูง

ลำดับ ชนิด วิตามินเอ (IU)
1. ใบยอ 43333
2. ใบย่านาง 30625
3. ใบชะพลู 21250
4. ตำลึง(ใบและยอดอ่อน) 18608
5. ผักกูด 17167
6. มะระ(ยอดอ่อน) 14167
7. ผักกะสัง 13975
8. ผักแพว 13750
9. ผักชีลาว 13055
10. ผักแว่น 12166
11. ผักบุ้งขาว 11447
12. ใบบัวบก 10962
13. ใบเหลียง 10889
14. กระเจี๊ยบเปรี้ยว หรือกระเจี๊ยบแดง(ใบ) 10833
15. ใบแมงลัก 10666
16. ชะอม(ยอด) 10066
17. พริกชี้ฟ้าแดง 10000
18. ผักแพงพวย 9875
19. ผักปลัง 9316
20. ขี้เหล็ก(ดอก) 8221

ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย  กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข

รวบรวมโดยงานส่วนสมุนไพรฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมระบบบริการสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์

รายชื่อผักที่มีเบตาแคโรทีนสูง

ลำดับ ชนิด เบตาแคโรทีน(MG)
1. แค (ยอด) 8654
2. ใบกระเพรา 7857
3. ใบแพชชั่นฟรุต (เสาวรส) 7273
4. ขี้เหล็ก (ใบ) 7181
5. แครอท 6994
6. ผักเชียงดา 5905
7. ผักเตา 4852
8. ยอดฟักข้าว 4782
9. ผักติ้ว 4500
10. ยอดผักแส้ว 4366
11. ผักจุ่มป่า (กุ่มปลา) 4086
12. ใบยอ (จ.ปัตตานี) 3999
13. ผักกะเฉด 3710
14. สะเดา (ยอด) 3611
15. ใบเตย 2987
16. ใบตังโอ๋ 2722
17. ผักกาดนกเขา 2557
18. ผักปวยเล้ง 2520
19. ผักคะน้า 2512
20. ผักขี้ขวง 2431
21. มะกอก (ยอดอ่อน) 2017
22. ผักลิ้น (จ.สงขลา) 1961
23. ผักกวางตุ้ง 1810

ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย  กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข

รวบรวมโดยงานส่วนสมุนไพรฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมระบบบริการสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์

Cr: มหันตภัยจากการบริโภคของมนุษย์