รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

สรุปการวิจัยสารอาหาร วิตามิน ต้านไวรัส โควิด19

สรุปการวิจัย สารอาหาร วิตามิน

ต้านไวรัส

ตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นต้นมา ทั่วโลก ประสบปัญหากับการมีผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจ หรือที่เรียกว่า การแพร่ระบาดของ “โรคไวรัส COVID-19”

โดยอัตราการเสียชีวิต แตกต่างกันตาม ประเทศ เชื้อชาติ ระบบการแพทย์ อายุ และระบบภูมิคุ้มกัน อย่างมีนัยสำคัญ

ได้มีการศึกษา และวิจัย เพื่อหาแนวทางการรักษาในหลายด้าน เกี่ยวกับ COVID-19    รวมถึงการศึกษาเพื่อยืนยันระดับของสารอาหารต่าง ๆ ในผู้ป่วย COVID-19 

การศึกษาเพื่อยืนยันระดับของสารอาหารในผู้ป่วย COVID-19

ได้ทำการศึกษากับผู้ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอินฮาประเทศเกาหลี จำนวน 50 คน (จำนวนวันสำหรับการวิเคราะห์คือ 2 วันหลังการรับเข้า)

การศึกษา แบ่งเป็น ชาย 29 คนและหญิง 21 คน

อายุ 15 – 19 ปี 2 คน

อายุ 20 – 29 ปี 8 คน

อายุ 30 – 39 ปี 5 คน

อายุ 40 – 49 ปี 5 คน

อายุ 50 – 59 ปี 8 คน

อายุ 60 – 69 ปี 12 คน

อายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป 10 คน

โดยศึกษาสารอาหารดังนี้  ซีลีเนียม , วิตามินดี (25-hydroxyvitamin D3), โฟเลต , วิตามินบี 1 , บี 6, บี 12 , และสังกะสี

จากการศึกษา ผู้ป่วย COVID-19

ขาดวิตามินดี 76% ของผู้ป่วย

วิตามินดี มีหน้าที่หลักช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ช่วยควบคุมกระบวนการสำคัญต่าง ๆในร่างกาย  รวมถึงช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

แหล่งที่มา

พบในอาหารประเภทปลา ที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ไข่ นม และพบในแสงแดด

ขาดซีลีเนียม 42% ของผู้ป่วย

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมการทำงานของ NK cell (natural killer cell)

ซึ่งเป็นเซลล์ที่ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสโดยตรงเลย

แหล่งที่มา

พบในอาหารทะเล หัวหอม กระเทียม รำข้าว  bazil nut
การนอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ NK cell ลดลงได้

ขาดวิตามิน B6 หรือ pyridoxine 6.1% ของผู้ป่วย

มีความสำคัญในการผลิตโปรตีนชนิดต่าง ๆ
และการผลิตสารสื่อนำประสาทในสมองและระบบประสาท

มีความจำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง  และเพื่อควบคุมสมดุลของฮอร์โมน รวมไปถึงปรับสมดุลฮอร์โมนของภูมิคุ้มกันให้เหมาะสม

แหล่งที่มา

พบในอาหารประเภทปลาทะเล ถั่วเหลือง เต้าหู้ เนื้อสัตว์  ไข่ และพวกถั่วพิตาชิโอ้

ขาดโฟเลต 4.0%ของผู้ป่วย

ช่วยลดความเสียงในการเกิด โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม

แหล่งที่มา

พบในอาหารประเภทผักใบเขียว และผลไม้

ไม่มีผู้ป่วยขาดสาร B1 , B12 หรือสังกะสี

นอกจากนี้ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการทางเดินหายใจเกือบทั้งหมด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง

ไม่ชัดเจนว่าการขาดสารอาหารแต่ละชนิดส่งผลต่อภูมิคุ้มกันหรือไม่ หรือการขาดสารอาหารเพียงแค่นำไปสู่สภาวะโดยรวมของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม การอักเสบมากเกินไปเป็นปัจจัยหลักในการลุกลามของโควิด -19

เพราะ การทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่หลากหลาย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นพื้นฐานให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทาน และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

Cr.https://www.ijidonline.com/article/S1201-9712(20)30647-0/fulltext