รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

ความลับของชาวญี่ปุ่นเพื่อสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว

The Japanese “Secret” to Health and Longevity

ความลับของชาวญี่ปุ่นเพื่อสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว

จากหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างกันของสาหร่ายทะเล ฟูคอยแดน เป็นความลับอันทรงคุณค่าในวัฒนธรรมของชาวเอเชีย

ถ้าจะให้จำเพาะเจาะจงให้มากกว่านี้ก็คือ มันเป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่ชาวเมืองของโอกินาว่า ที่ซึ่งมีผู้คนอายุยืนถึง 100 ปี ที่นั่น อาหารที่ทานกันเป็นปกติ คือ สาหร่ายทะเลที่อุดมไปด้วยฟูคอยแดน

โภชนาการที่ถูกต้อง เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ยืนยาวของพวกเขาในตะวันตก สาหร่ายทะเลไม่ได้ถูกนำมารับประทานกันทั่วไป อาหารต่างๆ ก็ยากที่จะมีสารอาหารที่สำคัญเหล่านี้

ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีความสามารถในการสื่อสารของเซลล์กับเซลล์ เพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อ และเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

59-05-12-brown seaweed-3

สิ่งที่ขาดหายทางด้านโภชนาการในอาหารแบบชาวอเมริกัน

ชาวญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอายุขัยที่สูงที่สุดในโลก แต่ชาวโอกินาวาจะมีความชัดเจนในเรื่องของการมีอายุที่ยาวกว่าคนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นยังเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของอัตราเฉลี่ยที่ต่ำของโรคเรื้อรังน้อยกว่าประชากรชาวตะวันตก. 

วัฒนธรรมของพวกเขาจะตั้งข้อสังเกตถึงประโยชน์ของเครื่องเทศตามธรรมชาติ และอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารว่าเป็นเสมือนยารักษาโรค 

นอกเหนือจากสาหร่ายทะเล 4-5 กรัม ที่ถูกรวมไว้ในเมนูอาหารของพวกเขาแล้ว ชีวิตที่มีสุขภาพดีและยืนยาวนี้ ยังต้องให้เครดิตกับอาหารที่มีแคลเลอรี่ต่ำจากปลา ผักต่างๆ และผลไม้ด้วย

แม้ว่าจะมีสาหร่ายหลายสายพันธุ์ที่สามารถทานได้ เช่น วากาเมะ (อุนดาเรีย พินนาติฟิดา) เมกาบุ และคอมบุ แต่ไม่ใช่ว่าทุกสายพันธุ์จะถูกสร้างมาให้มีคุณค่าเท่าเทียมกัน

สิ่งที่หลายๆ คนไม่ได้รู้ถึงเกี่ยวกับสาหร่าย หรือ โรงกำเนิดพลังงานแห่งท้องทะเล ก็คือว่า สาหร่ายจริงๆ แล้วมันไม่ใช่พืช แต่มันคือการรวมตัวกันของพืชทะเลหรือสิ่งมีชีวิตทางทะเลหลายเซลล์และเซลล์เดียวซึ่งรวมกลุ่มกัน

เพราะโครงสร้างโมเลกุลของพวกมันที่มีลักษณะเฉพาะ สาหร่ายประเภทนี้จึงมีระดับฟูคอยแดนที่สูงมาก

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า โพลีแซคคาไรด์ ซัลเฟต ที่ซับซ้อนมีความสามารถในการช่วยเพิ่มการส่งสัญญาณจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง

กระบวนการควบคุมดูแลส่วนกลางที่รับผิดชอบสำหรับการเพิ่มจำนวนของเซลล์ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง เช่นเดียวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด

พวกมันยังมีผลต่อเนื่องในการรักษาและการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ ซึ่งเมื่อคู่กับความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้ผลลัพธ์ในการยับยั้งความชราที่สามารถพิสูจน์มองเห็นได้

ผลการวิจัยได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า ชาวตะวันตกมีช่วงชีวิตที่สั้นกว่า และปัญหาสุขภาพนั้นก็เกี่ยวข้องกับการที่ไม่มีฟูคอยแดนอยู่ในอาหารนั่นเอง

การศึกษาเกี่ยวกับฟูคอยแดน

เนื่องจากการศึกษาประโยชน์ของฟูคอยแดน ยังคงศึกษาเพิ่มเติมอยู่ บริษัทยาต่างๆ ก็กำลังวิจัยถึงศักยภาพประโยชน์ด้านการบำบัดโรคของฟูคอยแดนอยู่

มาถึงวันนี้ สายพันธุ์ที่ได้รับการศึกษามากที่สุดก็คือ สาหร่ายอุนดาเรีย พินนาติฟิดา ในฐานะที่มันมีความสามารถในการจับกับสารพิษ และช่วยให้ร่างกายขับถ่ายสารพิษพวกนั้น มีการศึกษาเมื่อเร็วนี้ๆ เพื่อจุดประสงค์นี้เพื่อเป็นการบำบัดสำหรับสารไดออกซิน

การศึกษาได้กำลังเปิดเผยถึงความสามารถโดยธรรมชาติของฟูคอยแดน เพื่อยับยั้งธรรมชาติของการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง และวิธีการที่พวกมันสามารถป้องกันโรคติดเชื้อบางอย่าง

การต่อสู้ต้านมะเร็งและคุณสมบัติการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ฟูคอยแดนทำปฎิกิริยากับโปรตีนเซลล์ผิว ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในขณะที่ไกลโคโปรตีนทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณเพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงภายใน

การกระตุ้นภูมิต้านทานนี้จะเพิ่มการป้องกันของร่างกายต่อต้านแบคทีเรีย ไวรัสต่างๆ และมะเร็ง อุนดาเรีย พินนาติฟิดา ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ดีที่สุดในการทำงานนี้

ในการศึกษาทดลอง มันได้ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและมะเร็ง และป้องกันมะเร็งทำลายเซลล์อื่นๆ ซึ่งใช้หลักการชี้นำเซลล์ภูมิคุ้มกันมาโจมตีเซลล์มะเร็งอย่างได้ผล

ฟูคอยแดนยังได้รับการวิจัยการทำงานของการต้านการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น มาลาเรียและโรคเริม ซึ่งใช้หลักการบล็อคจุดรับเชื้อบนผิวเซลล์ที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น เป็นการหยุดการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพจากการแทรกซึมเข้าไปในเซลล์อย่างยิ่งยวด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟูคอยแดนที่สกัดจากอุนดาเรีย พินนาติฟิดา ได้รับการพิสูจน์ที่จะหยุดการแตกตัวของไวรัสเริม และเพิ่มการผลิตแอนติบอดีของเซลล์บี เพื่อยับยั้งเชื้อไวรัส

นอกจากนี้ การศึกษาที่ซึ่งอุนดาเรีย พินนาติฟิดา ถูกจัดให้กับคน 15 ราย ที่มีการติดเริม โดยปริมาณการใช้ที่เท่ากับปริมาณที่บริโภคต่อวันในประเทศญี่ปุ่น ผู้ป่วยทั้งหมด 15 คน อาการปวดลดลงและรอยแผลหายอย่างรวดเร็ว

มากกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า อุนดาเรีย พินนาติฟิดา ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ภูมิต้านทาน ทีเซลล์ ที่มีประโยชน์ ซึ่งมีหน้าที่ในการต่อสู้กับการติดเชื้อ

การศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้สูตรเดียวกัน พบว่าฟูคอยแดนมีการออกฤทธิ์ต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพต่อไวรัสเริมตัวอื่นๆ เช่น งูสวัด และเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส การศึกษานี้เปิดเผยว่า

อุนดาเรียทำงานโดยการเก็บไวรัสจากการจับกันกับเซลล์โฮสท์และยับยั้งเชื้อไวรัส ในขณะที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น

สารสกัดจากอุนดาเรีย ยังได้พิสุจน์ในการเพิ่มขึ้นของการทำลายเซลล์มะเร็งด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกัน จากการศึกษาในสัตว์ และยังถูกเชื่อว่าสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้

นอกจากนี้ยังได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็งเต้านม แต่สิ่งที่ทำให้สิ่งนี้มีลักษณะเฉพาะอย่างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับการรักษาโรคมะเร็งแบบเดิม

ก็คือว่าในขณะที่สารสกัดเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์ในเซลล์มะเร็ง มันได้ช่วยให้เซลล์ที่สุขภาพดีไม่ให้ได้รับความเสียหายโดยสมบูรณ์

ฟูคอยแดนต่อสู้กับโรคร้ายได้อย่างไร?

59-05-03-fucoidan-8

ภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ได้กลายเป็นสิ่งปกติที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งโลก และถือว่าเป็นผลโดยตรงของการเกิดสารความแก่ advanced gylcation end productsหรือ AGEs

ไขมันเหล่านี้ก่อตัวตามธรรมชาติในร่างกาย เมื่อไขมันหรือโปรตีนรวมตัวกับน้ำตาล กระบวนการเหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของเซลล์ปกติ ทำให้พวกมันนำพาไปสู่ความชราและเกิดความเสื่อมก่อนเวลาอันควร

AGEs สามารถพบได้ในระดับที่สูงในผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ และนอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในอาหารแปรรูปและอาหารที่มีรสหวาน

นอกจากนี้คือวิธีการปรุงอาหาร เช่น การคั่ว การย่าง และปิ้ง ทำให้ AGEs ในอาหารเพิ่มขึ้น เป็นที่เชื่อกันว่า นี่เป็นการเพิ่มไขมันที่ก่อให้เกิดการดื้อต่ออินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะอ้วนลงพุงมีความเกี่ยวพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2  โชคดีที่การวิจัยเกี่ยวกับฟูคอยแดนได้พิสูจน์ ว่าเป็นกุญแจสำคัญในการรบกวนกระบวนการที่นำไปสู่สภาวะอ้วนลงพุงและภาวะโรคแทรกซ้อนของมัน

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าฟูคอยแดนสามารถฟื้นฟูการควบคุมการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยในสัตว์ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีข้อสัญนิษฐานว่า ช่วยยับยั้งผลที่เกิดจากสาร AGEs ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียหายได้

อุนดาเรียมีความสามารถที่จะรักษาเสถียรภาพและชะลอการย่อยแป้งจากคาร์โบไฮเดรต ลดอันตรายจากการขึ้นอย่างเร็วและลงอย่างเร็วของอินซูลิน (insulin spikes)

การศึกษาเพิ่มเติม ฟูคอยแดน จาก อุนดาเรีย พินนาติฟิดา สามารถช่วยลดอัตราความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ โดยมีเอนไซต์ที่ช่วยสลายไขมันและลดระดับของไตรกรีนเซอไรด์ ชนิดของฟูคอยแดนชนิดนี้สามารถทำงานได้ดีร่วมกับน้ำมันปลา และเพิ่มคุณภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดี

การศึกษาอื่นๆ ที่ทดสอบผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงโดยการบริโภค อุนดาเรีย พินนาติฟิดา 4-5 กรัมต่อวันเป็นเวลา 1 เดือน เป็นผลให้เกิดการลดระดับลงของความดันโลหิต 10.5 มิลลิเมตรปรอท. เป็นที่น่าสังเกตเพราะความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดว่ามีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับความดันโลหิตสูง
59-05-03-fucoidan-7

ผลของฟูคอยแดนในโรคข้ออักเสบ

อาการบวมของไขข้อที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด มักจะพบในผู้ที่ทุกข์ทรมานจากโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของไซโตไคน์ ซึ่งเป็นโมเลกุลสัญญาณเซลล์ที่เพิ่มการอักเสบ

ฟูคอยแดนช่วยในการลดการสร้างไซโตไคน์ และในทางกลับกันก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคข้ออักเสบ ฟูคอยแดนยังมีความสามารถในการลดการรับรู้ความเจ็บปวดอีกด้วย คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ฟูคอยแดนเป็นการรักษาแบบใหม่ในการจัดการกับโรคข้ออักเสบ

บทสรุป 

การวิจัยพิสูจน์ว่า ปัจจัยหลักของการมีชีวิตที่ยืนยาวที่ไม่เหมือนใคร และการมีสุขภาพที่ดีของประชากรชาวญี่ปุ่นนั้นมาจากโภชนาการอาหารที่รวมฟูคอยแดนเข้าไว้ในชีวิตประจำวันในรูปแบบของสาหร่ายทะเล

ฟูคอยแดนได้รับการพิสูจน์ ในเรื่องการป้องกันโรคมะเร็ง เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และการต่อสู้กับโรคติดเชื้อ

นอกจากนี้ ยังต่อสู้กับโรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะอ้วนลงพุง ผ่านการควบคุมอินซูลินและน้ำตาลกลูโคส  ขัดขวางการก่อตัวของภาวะน้ำตาลสะสม (advanced glycation end products – AGEs) และช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์

ฟูคอยแดนได้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์เหล่านี้ เมื่อบริโภคในระดับปริมาณ 75-300 มิลลิกรัมต่อวัน

นี่คือความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างโภชนาการอาหารของชาวญี่ปุ่น ซึ่งอุดมไปด้วยฟูคอยแดน สุขภาพและอายุที่ยืนยาวของชาวญี่ปุ่น ด้วยการรวมเอาฟูคอยแดนเข้าไปกับโภชนการอาหารในชีวิตประจำวัน  คุณประโยชน์เหล่านี้สามารถเป็นประโยชน์ให้กับผู้คนในพื้นที่อื่นๆ ของโลกได้ 

References

  1. Sho H. History and characteristics of Okinawan longevity food. Asia Pac J Clin Nutr. 2001;10(2):159-64.
  2. Yamori Y, Miura A, Taira K. Implications from and for food cultures for cardiovascular diseases: Japanese food, particularly Okinawan diets. Asia Pac J Clin Nutr. 2001;10(2):144-5.
  3. Miyagi S, Iwama N, Kawabata T, Hasegawa K. Longevity and diet in Okinawa, Japan: the past, present and future. Asia Pac J Public Health. 2003;15 Suppl:S3-9.
  4. Murakami A, Ishida H, Kobo K, et al. Suppressive effects of Okinawan food items on free radical generation from stimulated leukocytes and identification of some active constituents: implications for the prevention of inflammation-associated carcinogenesis. Asian Pac J Cancer Prev. 2005 Oct-Dec;6(4):437-48.
  5. Willcox DC, Willcox BJ, Todoriki H, Suzuki M. The Okinawan diet: health implications of a low-calorie, nutrient-dense, antioxidant-rich dietary pattern low in glycemic load. J Am Coll Nutr. 2009 Aug;28 Suppl:500S-16S.
  6. Haltiwanger RS, Lowe JB. Role of glycosylation in development. Annu Rev Biochem. 2004;73:491-537.
  7. Witvrouw M, De Clercq E. Sulfated polysaccharides extracted from sea algae as potential antiviral drugs. Gen Pharmacol. 1997 Oct;29(4):497-511.
  8. O’Leary R, Rerek M, Wood EJ. Fucoidan modulates the effect of transforming growth factor (TGF)-beta1 on fibroblast proliferation and wound repopulation in in vitro models of dermal wound repair. Biol Pharm Bull. 2004 Feb;27(2):266-70.
  9. Kim EJ, Park SY, Lee JY, Park JH. Fucoidan present in brown algae induces apoptosis of human colon cancer cells. BMC Gastroenterol. 2010;10:96.
  10. Teas J, Baldeon ME, Chiriboga DE, Davis JR, Sarries AJ, Braverman LE. Could dietary seaweed reverse the metabolic syndrome? Asia Pac J Clin Nutr. 2009;18(2):145-54.
  11. Available at: http://www.indexmundi.com/map/?v=30. Accessed February 24, 2011.
  12. Ross PD, Norimatsu H, Davis JW, et al. A comparison of hip fracture incidence among native Japanese, Japanese Americans, and American Caucasians. Am J Epidemiol. 1991 Apr 15;133(8):801-9.
  13. Skibola CF. The effect of Fucus vesiculosus, an edible brown seaweed, upon menstrual cycle length and hormonal status in three pre-menopausal women: a case report. BMC Complement Altern Med. 2004 Aug 4;4:10.
  14. Maruyama H, Tamauchi H, Iizuka M, Nakano T. The role of NK cells in antitumor activity of dietary fucoidan from Undaria pinnatifida sporophylls (Mekabu). Planta Med. 2006 Dec;72(15):1415-7.
  15. Li B, Lu F, Wei X, Zhao R. Fucoidan: structure and bioactivity. Molecules. 2008;13(8):1671-95.
  16. Sawa M, Hsu TL, Itoh T, et al. Glycoproteomic probes for fluorescent imaging of fucosylated glycans in vivo. Proc Natl Acad Sci U S A. 2006 Aug 15;103(33):12371-6.
  17. Nairn AV, Kinoshita-Toyoda A, Toyoda H, et al. Glycomics of proteoglycan biosynthesis in murine embryonic stem cell differentiation. J Proteome Res. 2007 Nov;6(11):4374-87.
  18. Freguin-Bouilland C, Alkhatib B, David N, et al. Low molecular weight fucoidan prevents neointimal hyperplasia after aortic allografting. Transplantation. 2007 May 15;83(9):1234-41.
  19. Furusawa E, Furusawa S. Anticancer activity of a natural product, viva-natural, extracted from Undaria pinnantifida on intraperitoneally implanted Lewis lung carcinoma. Oncology. 1985;42(6):364-9.
  20. Cooper R, Dragar C, Elliot K, Fitton JH, Godwin J, Thompson K. GFS, a preparation of Tasmanian Undaria pinnatifida is associated with healing and inhibition of reactivation of Herpes. BMC Complement Altern Med. 2002 Nov 20;2:11.
  21. Morita K, Nakano T. Seaweed accelerates the excretion of dioxin stored in rats. J Agric Food Chem. 2002 Feb 13;50(4):910-7.
  22. Fukuta K, Nakamura T. Induction of hepatocyte growth factor by fucoidan and fucoidan-derived oligosaccharides. J Pharm Pharmacol. 2008 Apr;60(4):499-503.
  23. Moon HJ, Lee SH, Ku MJ, et al. Fucoidan inhibits UVB-induced MMP-1 promoter expression and down regulation of type I procollagen synthesis in human skin fibroblasts. Eur J Dermatol. 2009 Mar-Apr;19(2):129-34.
  24. Tanaka K, Ito M, Kodama M, et al. Sulfated polysaccharide fucoidan ameliorates experimental autoimmune myocarditis in rats. J Cardiovasc Pharmacol Ther. 2010 Dec 30.
  25. Zapopozhets TS, Besednova NN, Loenko Iu N. Antibacterial and immunomodulating activity of fucoidan. Antibiot Khimioter. 1995 Feb;40(2):9-13.
  26. Kuznetsova TA, Zaporozhets TS, Besednova NN, et al. Immunostimulating and anticoagulating activity of fucoidan from brown algae Fucus evanescens of Okhotskoe sea. Antibiot Khimioter. 2003;48(4):11-3.
  27. Itoh H, Noda H, Amano H, Ito H. Immunological analysis of inhibition of lung metastases by fucoidan (GIV-A) prepared from brown seaweed Sargassum thunbergii. Anticancer Res. 1995 Sep-Oct;15(5B):1937-47.
  28. Choi EM, Kim AJ, Kim YO, Hwang JK. Immunomodulating activity of arabinogalactan and fucoidan in vitro. J Med Food. 2005 Winter;8(4):446-53.
  29. Kim MH, Joo HG. Immunostimulatory effects of fucoidan on bone marrow-derived dendritic cells. Immunol Lett. 2008 Jan 29;115(2):138-43.
  30. Maruyama H, Tamauchi H, Hashimoto M, Nakano T. Antitumor activity and immune response of Mekabu fucoidan extracted from sporophyll of Undaria pinnatifida. In Vivo. 2003 May-Jun;17(3):245-9.
  31. Lee JB, Hayashi K, Hashimoto M, Nakano T, Hayashi T. Novel antiviral fucoidan from sporophyll of Undaria pinnatifida (Mekabu). Chem Pharm Bull (Tokyo). 2004 Sep;52(9):1091-4.
  32. Dalton JP, Hudson D, Adams JH, Miller LH. Blocking of the receptor-mediated invasion of erythrocytes by Plasmodium knowlesi malaria with sulfated polysaccharides and glycosaminoglycans. Eur J Biochem. 1991 Feb 14;195(3):789-94.
  33. Hayashi K, Nakano T, Hashimoto M, Kanekiyo K, Hayashi T. Defensive effects of a fucoidan from brown alga Undaria pinnatifida against herpes simplex virus infection. Int Immunopharmacol. 2008 Jan;8(1):109-16.
  34. Maruyama H, Tanaka M, Hashimoto M, Inoue M, Sasahara T. The suppressive effect of Mekabu fucoidan on an attachment of Cryptosporidium parvum oocysts to the intestinal epithelial cells in neonatal mice. Life Sci. 2007 Jan 30;80(8):775-81.
  35. Thompson KD, Dragar C. Antiviral activity of Undaria pinnatifida against herpes simplex virus. Phytother Res. 2004 Jul;18(7):551-5.
  36. Chen JH, Lim JD, Sohn EH, Choi YS, Han ET. Growth-inhibitory effect of a fucoidan from brown seaweed Undaria pinnatifida on Plasmodium parasites. Parasitol Res. 2009 Jan;104(2):245-50.
  37. Harden EA, Falshaw R, Carnachan SM, Kern ER, Prichard MN. Virucidal activity of polysaccharide extracts from four algal species against herpes simplex virus. Antiviral Res. 2009 Sep;83(3):282-9.
  38. Funahashi H, Imai T, Tanaka Y, et al. Wakame seaweed suppresses the proliferation of 7,12-dimethylbenz(a)-anthracene-induced mammary tumors in rats. Jpn J Cancer Res. 1999 Sep;90(9):922-7.
  39. Funahashi H, Imai T, Mase T, et al. Seaweed prevents breast cancer? Jpn J Cancer Res. 2001 May;92(5):483-7.
  40. Rader DJ.Effect of insulin resistance, dyslipidemia, and intra-abdominal adiposity on the development of cardiovascular disease and diabetes mellitus. Am J Med. 2007 Mar;120(3 Suppl 1):S12-8.
  41. Robert L, Labat-Robert J. The metabolic syndrome and the Maillard reaction. An introduction. Pathol Biol (Paris). 2006 Sep;54(7):371-4.
  42. Soldatos G, Cooper ME, Jandeleit-Dahm KA. Advanced-glycation end products in insulin-resistant states. Curr Hypertens Rep. 2005 Apr;7(2):96-102.
  43. Otani H.Oxidative Stress as Pathogenesis of Cardiovascular Risk Associated with Metabolic Syndrome. Antioxid Redox Signal. 2010 Dec 2.
  44. Goni I, Valdivieso L, Gudiel-Urbano M. Capacity of edible seaweeds to modify in vitro starch digestibility of wheat bread. Nahrung. 2002 Feb;46(1):18-20.
  45. Nellore K, Harris NR. Inhibition of leukocyte adherence enables venular control of capillary perfusion in streptozotocin-induced diabetic rats. Microcirculation. 2004 Dec;11(8):645-54.
  46. Tamura Y, Adachi H, Osuga J, et al. FEEL-1 and FEEL-2 are endocytic receptors for advanced glycation end products. J Biol Chem. 2003 Apr 11;278(15):12613-7.
  47. Murata M, Ishihara K, Saito H. Hepatic fatty acid oxidation enzyme activities are stimulated in rats fed the brown seaweed, Undaria pinnatifida (wakame). J Nutr. 1999 Jan;129(1):146-51.
  48. Murata M, Sano Y, Ishihara K, Uchida M. Dietary fish oil and Undaria pinnatifida (wakame) synergistically decrease rat serum and liver triacylglycerol. J Nutr. 2002 Apr;132(4):742-7.
  49. Bartlett MR, Warren HS, Cowden WB, Parish CR. Effects of the anti-inflammatory compounds castanospermine, mannose-6-phosphate and fucoidan on allograft rejection and elicited peritoneal exudates. Immunol Cell Biol. 1994 Oct;72(5):367-74.
  50. Cardoso ML, Xavier CA, Bezerra MB, et al. Assessment of zymosan-induced leukocyte influx in a rat model using sulfated polysaccharides. Planta Med. 2010 Feb;76(2):113-9.
  51. Myers SP, O’Connor J, Fitton JH, et al. A combined phase I and II open label study on the effects of a seaweed extract nutrient complex on osteoarthritis. Biologics. 2010 Mar 24;4:33-44.
  52. McNamee KE, Burleigh A, Gompels LL, et al. Treatment of murine osteoarthritis with TrkAd5 reveals a pivotal role for nerve growth factor in non-inflammatory joint pain. Pain. 2010 May;149(2):386-92.
  53. Verdrengh M, Erlandsson-Harris H, Tarkowski A. Role of selectins in experimental Staphylococcus aureus-induced arthritis. Eur J Immunol. 2000 Jun;30(6):1606-13.
  54. Myers SP, O’Connor J, Fitton JH, et al. A combined phase I and phase II open label study on the immunomodulatory effects of a seaweed nutrient complex. Biologics: Targets and Therapy. 2010 Feb;2010(4):33-44.