รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

เส้นใยอาหาร หมู่อาหารต้านท้องผูก ล้างสารพิษ

ในบรรดาสัตว์โลกทั้งหลาย
ที่พอจะจำแนกได้ว่า

  • สัตว์กินเนื้อ
  • สัตว์กินหญ้า
  • สัตว์กินผลไม้กับธัญพืช

โดยเจ้าเนื้อสัตว์ทั้งหลาย
ที่คนเราสมัยนี้หลงใหลนั้น

แท้จริงมิใช่อาหารธรรมชาติที่เหมาะสม
กับสรีระของคนเราอย่างแท้จริง

คนเราเป็นสัตว์กินผลไม้กับธัญพืช
ตระกูลเดียวกับวานรที่ห้อยโหนตัว
ทั้งในกรง และนอกกรง

สัตว์กินเนื้อ

โดยธรรมชาติจะมีเขี้ยว มีเล็บอย่างเสือสิงห์
มันมีลำไส้สั้นมาก

เพราะรู้ว่าเนื้อที่กินเข้าไปเวลาย่อยไม่หมด
แบคทีเรียจะทำให้บูดเน่าเกิดเป็นสารพิษขึ้น

บรรพบุรุษของมันจึงเลือก
ที่จะขับถ่ายออกให้เร็วที่สุด
ด้วยลำไส้สั้นที่ได้เปรียบอยู่ในตัว

สัตว์กินผลไม้กับธัญพืช

มีลำไส้ยาวเหยียดเพื่อคอยทะนุถนอม
ดูดซึมสารอาหารกรดอะมิโน
ทุกหยาดหยดจากพืช ผัก ผลไม้
เข้าไปทีละเล็กละน้อย

ครั้นเมื่อคนเราอุตริลงจากต้นไม้
ไปไล่ล่าเก้งกวางในท้องทุ่งเอามากิน
ได้รสชาติของเลือดของเนื้อสดๆ
ก็ชักติดใจ ตามใจปากอยู่เรื่อยไป

ผลคือ
เนื้อสัตว์ที่กินเข้าไปเราย่อยไม่หมด
เอาไปใช้ในร่างกายได้เพียง 67% เท่านั้น

อีก 33% ตกค้างอยู่ในลำไส้
กลายเป็นเหยื่อของแบคทีเรีย

แล้วกลายเป็นสารพิษอินดอล
คอยให้เราดูดซับกลับไป
ทำร้ายสุขภาพตนเองต่อไป

กล่าวกันว่า ในยามที่ภาวะ
การทำงานของลำไส้เลวอย่างสุดๆ
เจ้าเชื้อแบคทีเรียตัวร้าย
จะแพร่กระจายไปจากลำไส้ใหญ่
ย้อนขึ้นไปถึงลำไส้เล็ก

ขึ้นถึงกระเพาะและหลอดอาหารด้วยซ้ำ
ดังนั้น สารพิษก็เกิดขึ้นตลอดทาง

ที่นี้ต้องรู้ว่า ที่ผนังลำไส้ ยังมี
เยื่อบุที่ลื่นเป็นเมือก เหนือชั้นของ
เยื่อเมือกมีสารคัดหลั่งปกคลุมอยู่

ในนี้มีสารแอนติบิดี้ สำหรับต่อต้านโปรตีนแปลกปลอม
เราเรียกว่า “อิมมูโนโกลบูลินชนิดเอ หรือ igA”

สารนี้จะคอยปกป้องร่างกายจากสารพิษชนิดต่างๆ
แต่ถ้าการทำงานของลำไส้เรรวน
เสียศูนย์มากเกินไป
สุดท้ายเจ้าสาร lgA ก็น้อยไปด้วยนั่นแหละ

ทำให้สารโปรตีนแปลกปลอมบางตัว
พลัดหลงเข้าสู่กระแสเลือดของเรา
แล้วเป็นเหตุก่อให้เกิดภูมิแพ้ขึ้น

นอกจากพวกสารพิษกลุ่มโปรตีนแปลกปลอมแล้ว
อีกตัวหนึ่งที่ก่ออันตรายมหันต์
แก่ร่างกายของมนุษย์ สมัยใหม่

คือสารโลหะหนัก มันมากับควันรถยนต์
มากับน้ำเสียของโรงงาน ที่ไหลลงสู่ตัวมัน
ก่อผลร้ายแก่คนกินอีกทอดหนึ่ง

การต่อต้านสารพิษโลหะหนัก
เป็นปัญหาใหญ่ของวงการแพทย์ปัจจุบัน

ข่าวล่าจากฮังการี ดร.ยาโนส ริโก
นักโภชนาการ ได้พยายามสกัดสารจากรำข้าวโอ๊ต
ออกมาเป็นยาชื่อ “อเวนัน”
ช่วยดูดซับสารตะกั่วและสตรอนเทียม
จากกระแสเลือด
ดึงเอาสารเหล่านี้ออกมาสู่ลำไส้ใหญ่
แล้วถ่ายออกไปกับอุจจาระ

งานวิจัยนี้เป็นเรื่องใหญ่
ที่หักเลี้ยววงความเชื่อของ
แพทย์แบบแผนอีกเช่นเคย
เพราะแต่ไหน แต่ไรมา

ถือกันอย่างตายตัวว่า
สารพิษโลหะหนัก
เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว
ไม่มีทางกำจัดออก

จึงไม่เชื่อถือคำว่า “ล้างพิษ”
ที่วิถีสุขภาพแบบองค์รวม
หรือธรรมชาติบำบัดทั่วโลก
เขาปฏิบัติกันมานานแล้ว…ยังไงเล่า

การศึกษาแยกส่วนในปัจจุบัน
ทำให้เราแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างอวัยวะ
ต่างๆ ในร่างกายเป็นเอกเทศกันจนเกินไป
แท้จริงลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่
ต่อทอดถึงกัน และมีบทบาทต่อกันด้วย

เรารู้ว่าในลำไส้ของเรา
มีเชื้อแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก
ทั้งชนิดที่เป็นมิตรและเป็นศัตรู

อย่างแล็ตโตบาซิลไล
อย่างอีโคไล หรือคลอสติเดียม
เป็นต้น

บางเวลาที่สิ่งแวดล้อมในลำไส้ดี
มันก็แสนจะเป็นมิตร

นอกจากไม่ทำร้ายเราแล้ว
ยังคอยย่อยอาหารและสร้างวิตามิน
บางตัวให้เราใช้อีกด้วย

แต่ในยามที่สิ่งแวดล้อมไม่ดี
บางตัวก็แปรพักตร์เป็นศัตรูของเรา
เกิดการย่อยเศษอาหารให้เน่าบูด
กลายเป็นสารพิษขึ้นมา

ตัวอย่าง

คุณสมศรี เธอเป็นโรคภูมิแพ้
เมื่อใดก็ตามที่เธอกินเลี้ยงบ่อยๆ
ก็มีอันจะท้องผูกเสียร่ำไป

และผลที่ตามมาก็คือ
การจับหืด จนบางคืน
ต้องไปโรงพยาบาลกลางดึก
เพื่อฉีดยาขยายหลอดลม

เธอสังเกตเสมอว่า
อาการทางท้องของเธอ
บางทีก็มีลักษณะท้องผูก
สลับท้องเสีย
ยามเมื่อกินเนื้อสัตว์มากเกินไป

“ดิฉันเปรยเรื่องอาการนี้กับหมอว่า
อาการทางท้องของดิฉัน
น่าจะเกี่ยวกับอาการหอบหืด
แต่หมอก็ได้แต่ยิ้ม ๆ “

แน่นอนว่า เธอจะหาคำตอบรับเช่นนี้
จากผู้ทรงความรู้ทางตำราแพทย์เแผนปัจจุบันไม่ได้
เพราะเรื่องของลำไส้ใหญ่นั้น

ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
ถือเป็นเพียงท่อระบายน้ำโสโครก
ที่คอยดูดซึมน้ำในกากอาหาร
ที่เหลือจากการย่อย

ทำหน้าที่ปั้นอุจจาระให้เป็นกัอนเท่านั้น
ไม่ได้มีส่วนอะไรกับการก่อโรคภัยไข้เจ็บ

สารพิษตัวสำคัญคือสารกลุ่มอินดอล
หรือโพแทสเซียม อินดอกซิล ซัลเฟต

ซึ่งเป็นตัวสร้างกลิ่นอึให้เหม็น
ตลบอบอวลไปทั่วทั้งห้อง

และเจ้าตัวร้ายนี่แหละครับ…
ใครมีมากมีน้อยก็พิสูจน์กันไม่ยาก
ด้วยการวัดดีกรีความเหม็นของอึ
แต่ละคนเปรียบเทียบกัน…
ว่ากันว่าสารตัวนี้ใครมีมากมะเร็งก็ถามหา

สารสุดวิเศษที่จะล้างพิษลำไส้ คือ
เส้นใยในอาหาร

มันเป็นตัวกัน ไม่ให้สารพิษ และ โลหะหนัก
สัมผัสกับผิวลำไส้ ทั้งยังดูดซับ
มันกลับมาแล้วปล่อยออกทางอุจจาระ

ผลไม้เป็นอาหารอุดมเส้นใย เช่น
ฝรั่งมี 3.7%
มะม่วงแรดมี 3.6%
กล้วยน้ำว้ามี 2.5%
กล้วยหอมมี 0.9%
กะหล่ำดอกมี 0.9%
กะหล่ำปลีมี 0.7%
ขึ้นฉ่ายมี 0.7%
ผักกาดมี 0.6%

ที่มีมากมายกินได้ทุกวัน คือ
ข้าวกล้อง มี 2.1%

สำหรับการปกป้องลำไส้
จึงควรกินข้าวกล้อง ผลไม้ และผัก

Cr. อึส่องโรค