รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

8 สมุนไพรที่ต้องระวังในผู้ป่วยโรคไต

1. มะเฟือง

มีเส้นใยอาหาร วิตามินซี โฟเลต โพแทสเซียม แมกนีเซียม และมีแคลอรี่ต่ำ ทำให้หลายคนเชื่อว่า การรับประทานมะเฟืองส่งผลดีต่อสุขภาพ

ตลอดจนอาจรักษาป้องกันโรคบางชนิดได้ เช่น ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ป้องกันมะเร็งตับ

แต่เนื่องจากในมะเฟืองมีสารออกซาเลต (Oxalate) ปริมาณมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ไตเกิดความเสียหายหรือเป็นนิ่วในไตได้

ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะเฟือง เพราะอาจได้รับอันตรายจากการทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดอาการสับสนมึนงง ชักเกร็ง หรืออาจป่วยรุนแรงถึงชีวิต และเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเฉียบพลันได้

2. หญ้าหนวดแมว

คนสมัยก่อน นิยมใช้เพื่อช่วยขับปัสสาวะ สลายนิ่ว รักษาโรคกระษัย ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

หญ้าหนวดแมว มีสารโพแทสเซียมสูงมาก หากไตไม่ปกติจะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้ อาจทำให้ขับปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ

และเกิดโทษร้ายแรงต่อร่างกาย ทั้งขนาดโพแทสเซียมที่สูงมากอาจไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อโรคหัวใจได้

3. ลูกยอ

ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด

โดยลูกยอบดจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียมแต่ผูป่วยโรคไตควรระวังเนื่องจาก มีปริมาณโพแตสเซียมสูง

4.หญ้าไผ่น้ำ

มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และลดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต บรรเทาอาการบวม

แต่ไม่เหมาะกับการใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพราะจะยิ่งทำให้ไตทำงานหนักขึ้นและเกิดอาการภาวะไตวายเฉียบพลันได้เร็วขึ้น

5. เถาวัลย์เปรียง

สารสกัดน้ำจากเถาวัลย์เปรียง มีสารประกอบประเภท rhamnosyl-(1,6)-glucosylisoflavone มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต,

สารสกัดด้วย 50% เอทานอล มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน, ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์, ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (ยับยั้งการสร้าง leukotriene B, ลดการหลั่ง myeloperoxide, ลดการสร้าง eicosanoid)

ลดการอักเสบที่อุ้งเท้าหนู, สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ,สารสกัดบิวทานอล ซึ่งมีฤทธิ์เช่นเดียวกับยาลดการอักเสบกลุ่ม NSAID จึงมีผลต่อไตได้เช่นกัน

6. ลูกเนียง

บางราย เมื่อทานลูกเนียงเข้าไป อาจมีอาการเป็นพิษได้ เมื่อรับประทานลูกเนียงดิบมากๆ เข้าไปแล้ว 2-14 ชั่วโมง จะเป็นโรคเกี่ยวกับไต

โดยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบากและปวดปัสสาวะมาก

น้ำปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีน้ำนม และบางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน

ในรายที่เป็นมากๆ อาจมีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือเป็น “นิ่ว” อาการเหล่านี้จะหายใน 3-4 วัน

7. ปอบิด หรือปอกะบิด

ในปัจจุบันคงไม่มีใคร ไม่เคยเห็นสมุนไพรที่เรียกกันว่า ปอบิด วางขายอยู่ทั่วไป พร้อมทั้งมีใบปลิวแนบสรรพคุณมากมาย

ตั้งแต่ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลดน้ำหนัก แก้เหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า ภูมิแพ้ ไทรอยด์ ปวดข้อ เข่า หลัง รวมถึง ไมเกรน บำรุงตับ ไต และใช้ได้ในโรคเรื้อรังทุกชนิด

แต่หากทานติดต่อกันเกิน 7 วัน ทำให้เป็นโรคไตได้ และอันตรายต่อคนที่เป็นโรคไต

8. ต้นกล้าอ่อนข้าวสาลี

อุดมไปด้ดวยวอตามินและแร่ธาตุ กรออะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแตสเซียมสูงมาก จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคไต

Cr:

  • http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
  • http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=63