รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

กินยา ดักไข้ จะไม่เป็นไข้ จริงหรือ?

ในช่วงนี้ เป็นช่วงที่อากาศกำลังเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูหนาว

จึงทำให้มีฝนตกบ่อยๆ อาจทำให้เป็นหวัด ไม่สบายกันได้ง่ายๆ

“อย่าลืมกินยาดักไว้ด้วยนะ เดี๋ยวจะไม่สบาย”

ด้วยประโยคแบบนี้ จึงทำให้เราได้ยินจนชินหู

และทำตาม ในสิ่งที่ผู้ใหญ่ หรือคนใกล้ตัวบอก

แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า
จริงๆแล้ว กินยาดักจะทำให้ไม่ป่วยจริงๆหรือ!!!

ซึ่งการจะบอกได้ว่า กินยาดักนั้น ช่วยได้หรือไม่
คงจะต้องตอบคำถามที่ว่า

ยาที่เรากินนั้น ออกฤทธิ์อย่างไร
ทำไมยาถึงรู้ว่าเราป่วย หรือบาดเจ็บตรงไหน ?

หลายคนมักเข้าใจว่า
เมื่อนำยาเข้าปากแล้วดื่มน้ำตาม
ยานั้นจะออกฤทธิ์ทันที

ซึ่งจริงๆ แล้ว
การนำยาเข้าปาก แล้วดื่มน้ำตามนั้น
ยังไม่ใช่จุดที่ยาออฤทธิ์

แต่การที่ยาจะออกฤทธิ์ คือ
ยาเคลื่อนที่เข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร
เดินทางถึงกระเพาะอาหารหรือลำไส้

ยาจะแตกตัว และละลายเข้ากับสารเหลวต่างๆ
เช่นน้ำที่ดื่ม หรือน้ำย่อยในกระเพาะ

เมื่อตัวยาแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ แล้ว

ยาก็จะซึมผ่านผนังของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
จากนั้นตัวยาพร้อมเลือด พากันมุ่งหน้าสู่ตับ

ก่อนที่จะทะลุเข้าสู่กระแสเลือด

(ด้วยเหตุนี้ แพทย์ผู้จ่ายยาจึงต้องคำนึง
ถึงปริมาณยาที่ถูกต้อง เพื่อให้ยาที่ได้รับเข้าไป
สามารถหลุดลอดการทำงานของตับ
และถูกส่งไปยังส่วนที่จำเป็นต้องใช้
และออกฤทธิ์ได้อย่างเหมาะสม)

โดยยาบางชนิดจะถูกดูดซึมได้ดีบริเวณลำไส้

ยาบางชนิดที่มีข้อบ่งใช้ให้อมไว้ใต้ลิ้น
เนื่องจากใต้ลิ้นเองก็มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงอยู่มาก
ยาจึงสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดี

ยาที่รอดจากการคัดกรองของตับ
จะถูกหมุนเวียนอยู่ในระบบเลือด
และถูกส่งไปส่วนต่างๆทั่วร่างกาย

เมื่อเลือดพายาไปถึงจุดที่ต้องออกฤทธิ์
ยาก็จะออกฤทธิ์รักษาตามอาการป่วยต่างๆ

หากถึงบริเวณที่เกิดอาการอักเสบ
ก็จะทำปฏิกิริยาเคมี โดยไปปิดกั้น
การส่งสัญญาณความเจ็บปวดไม่ให้ส่งไปยังสมอง

ซึ่งหากได้รับยาไม่ตรงกับความผิดปกติของร่างกาย
ยาก็อาจจะไม่ทำปฏิกิริยา
เพราะยาแต่ละชนิดนั้น ทำปฏิกิริยาแตกต่างกัน

แล้วในกรณีที่เราจะกินยาดักไข้ จะช่วยได้บ้างไหม

ซึ่งหากพิจารณาจากการที่ยาทำปฏิกิริยากับร่างกายแล้ว

ยาพาราเซตามอล
มีฤทธิ์ในการรักษาอาการปวด ลดไข้

ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษา ไม่ได้มีฤทธิ์ในการป้องกัน

ดังนั้น
“การกินยาดักไข้จึงไม่ได้ช่วยให้ไม่เป็นไข้”

แต่ในทางกลับกัน
ยังทำให้เกิดผลเสียและ
ผลข้างเคียงต่างๆ ตามมา
โดยจะพิจารณาจากปริมาณและขนาดยาที่กิน

ซึ่ง การกินยาพาราเซตามอน
มากกว่า 4 กรัม ต่อวัน หรือ
เม็ดละ 500 มิลลิกรัม มากกว่า 8 เม็ด
ติดต่อกันเกินกว่า 5 วัน

เป็นการใช้ยาเกินขนาด
จะทำให้ตับทำงานหนัก
และทำให้ตับได้รับบาดเจ็บ

จนเกิดอาการตับอักเสบและตับวายได้

ถ้าไม่ให้กินยาเพื่อดักไข้
แล้วควรจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันการเป็นไข้

มีวิธีการต่างๆ ดังนี้

1. ใช้น้ำเกลือกลั้วคอ
เมื่อรู้สึกเจ็บคอหรือไม่สบาย
ควรบ้วนปากหรือกลั้นคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ
โดยนำน้ำอุ่นหนึ่งแก้ว เติมเกลือลงไปครึ่งช้อนชา คนจนละลาย
น้ำเกลืออุ่นจะช่วยลดอาการบวมในลำคอ
ละลายเสมหะ และบรรเทาอาการระคายเคืองในลำคอได้
เพราะเกลือมีคุณสมบัติช่วยต้านแบคทีเรียค่ะ

2. ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ 
การดื่มน้ำเยอะ ๆ สามารถช่วยลดอาการเจ็บคอ และคัดจมูกได้

3. กินวินตามินซี
เพราะวิตามินซีช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

4.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

อุดมไปด้วยวิตามินซีที่ช่วยในเรื่องของการป้องกันโรคหวัด
และยังช่วยในการบำรุงผิวพรรณให้สดใส เปล่งปลั่ง
และแก้มแดงมีเลือดฝาด
มักพบมากในสตรอว์เบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่ และเชอร์รี่

5. พักผ่อนให้เพียงพอ 

การนอนจะช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย

อ้างอิง:
http://bit.ly/2LrUhTL
http://bit.ly/2xRvEHl
http://bit.ly/2JDUVM3
http://bit.ly/2Lrenh8
http://bit.ly/2XOkIKa