จูงมือเข้าครัวรวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledge

10 เมนูของว่าง & เครื่องดื่มโรคไต – โดยนักกำหนดอาหาร ก้อย ณัฏฐพัชร

หลังจากที่เคยแนะนำเมนูอาหารคาวของผู้ป่วยไตไปหลายเมนูแล้ว
วันนี้เราลองมาดูอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยไตกันบ้าง

แต่ถึงอย่างไรคนไข้ ก็ยังต้อง คุมอาหาร

จากที่คนไข้ทานโปรตีนได้น้อยอยู่แล้ว
และควรได้รับโปรตีนจากการทานเนื้อสัตว์ ในเมนูอาหารเป็นหลัก

ดังนั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลกับโปรตีนที่อยู่ในแป้งที่ทำขนม

แป้งที่ใช้ในการทำขนมจึงควรเป็นแป้งปลอดโปรตีน
แป้งปลอดโปรตีน เช่น เม็ดสาคู ,วุ้นเส้น ,แป้งข้าวโพด , แป้งมันสำปะหลัง

หลักการเลือกเมนูอาหาร

  • ใช้วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่หาได้ง่าย
  • ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก
  • หมวดโปรตีน เลือกใช้แป้งปลอดโปรตีน ก่อนเสมอ
  • หมวดผัก เลือกใช้ผักสีขาว หรือผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ
  • ผักสีๆ ใช้ในกรณีตกแต่ง เพิ่มสีสัน
  • เลือกผลไม้สีขาว หรือโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ สาลี่ แตงโม
  • เลี่ยงเติมเกลือ หรือผงฟู
  • หมวด เพิ่มกลิ่น เลือกใช้ผักสมุนไพรบางตัวเพื่อชูกลิ่น เช่น ใบเตย ขิง ตะไคร้ เป็นต้น
  • ขนมที่ใช้กระทิเป็นส่วนประกอบ ให้ใช้กะทิธัญพืชแทน และใส่ในปริมาณที่น้อยลง

เมนูที่ 1 สาคูแคนตาลูปนมสด

แม้จะเคยบอกว่าไม่อยากให้ผู้ป่วยทานนม เพราะมีฟอสฟอรัส
แต่ปริมาณที่นำมาใช้ คือ 1 ใน 4 กล่อง หรือ ประมาณ 50 ml เท่านั้น
ถือเป็นปริมาณที่น้อย

แจ้งผู้ป่วยด้วยว่าห้ามซดน้ำ เนื่องจากผู้ป่วยต้องคุมปริมาณน้ำที่ดื่ม

แคปตาลูป ถือเป็นผลไม้ที่อันตราย แต่ที่สามารถให้ทานได้
หากจำกัดปริมาณการทานอยู่ที่ 2-3 ชิ้นคำ เท่านั้น

เมนูที่ 2 ซาหริ่มน้ำกะทิ(ประยุกต์)

ใช้วุ้นเส้น เส้นสด แทนเส้นซาหริ่ม
โดยนำวุ้นเส้นไปแช่น้ำที่ผสมสีจากธรรมชาติเช่น  อัญชัน ใบเตย

ส่วนกะทิใช้เป็นกะทิธัญพืชแทน

เมนูที่ 3 วุ้นซาหริ่ม

ขั้นตอนการทำคล้ายซาหริ่มน้ำกะทิ(ประยุกต์)
เพียงแต่เราเพิ่มผงวุ้น เพื่อให้ซาหริ่มเซตตัว

เมนูที่ 4 วุ้นแตงโม

ทำวุ้นน้ำหวาน เทใส่เปลือกแตงโม
ใช้น้ำตาลในปริมาณที่น้อย

เมนูที่ 5 วุ้นผลไม้รวม

ใช้ผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยไต เช่น
แอปเปิ้ลแดง แอปเปิ้ลเขียว สาลี่ ชมพู่ องุ่นเขียว

เมนูที่ 6 เฉาก๊วย 

เฉาก๊วยเป็นวุ้นชนิดหนึ่ง สามารถทานได้
ใช้เฉาก๊วยซื้อได้ แต่ทานเฉาะตัวเฉาก๊วย

ส่วนย้ำเชื่อมให้ปรับน้ำเชื่อม โดยลดปริมาณน้ำตาลลง

และเวลาทานไม่ซดน้ำ

เมนูที่ 7 ขนมชั้น

ให้เลือกซื้อจากร้านที่รสชาติกลางๆ ไม่เค็มไม่หวานมาก 

ทานได้ในปริมาณที่น้อย

เครื่องดื่ม

ในกรณีที่ไม่ถูกจำกัดน้ำ หรืออยากจริงๆ
โดยสามารถผสมในปริมาณ 1 แก้ว แต่ไม่ได้ดื่มทั้งหมด 1 แก้ว

เมนูที่ 8  น้ำผึ้งมะนาวโซดา

สูตรนี้ เป็นสูตรที่ปรับลดปริมาณน้ำตาลแล้ว
ผู้ป่วยเบาหวานสามารถทานได้

เมนูที่ 9 น้ำสมุนไพร (รสอ่อน)

ใส่สมุนไพรในปริมาณที่น้อย เพียงแค่เปลี่ยนเป็นสีอ่อนๆ พอมีกลิ่นก็พอ

เมนู ที่ 10 Infused water