กินผักอย่างถูกวิธี ในผู้ป่วยไตเสื่อม ระยะ1-5
การทานผักในผู้ป่วยไตเสื่อม
ผู้ป่วยโรคไต ระยะ 3-5 ต้องคุมสารอาหาร
- โปรตีน
- โซเดียม
- โพแทสเซียม
- ฟอสฟอรัส
- แร่ธาตุต่าง ๆ
สิ่งที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ
โพแทสเซียม
เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่
– การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
– รักษาสมดุลของน้ำ กรด – ด่าง ในร่างกาย
– ควบคุมความดันโลหิต
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-5
ประสิทธิภาพในการขับโพอแทสเซียมจะลดลง
โดยเฉพาะโรคไตเรื่อรัง ระยะ 4-5
ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
- ผู้ป่วยโรคไตเรื่อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง หรือล้างไตทางช่องท้อง
จะมีปริมาณโพแทสเซียมในเลือด มาก – น้อย ขึ้นกับการควบคุมอาหาร
และปริมาณการดึงแร่ธาตุที่คั่งค้างอยู่ระหว่างการฟอกไต/ล้างไตทางช่องท้อง
มีปริมาณโพแทสเซียม น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม
ต่อผัก 1ทัพพี(ผักสุก) หรือ 2 ทัพพี (ผักดิบ)
มีปริมาณโพแทสเซียม 150-300 มิลลลิกรัม
ต่อผัก 1 ทัพพี(ผักสุก) หรือ 2 ทัพพี (ผักดิบ)
มีปริมาณโพแทสเซียม มากกว่า 30 มิลลิกรัม
ต่อผัก 1 ทัพพี (ผักสุก) หรือ 2 ทัพพี (ผักดิบ)
ผักกาดขาว | ผักกาดหอม |
ผักกาดแก้ว |
บวบ |
เห็ดหูหนู | ผักกวางตุ้ง |
ถั่วพู | กระเพรา |
ตำลึง | โหระพา |
—-เปรียบเทียบจากปริมาณผัก 1 ส่วน —-
ผัก 1 ส่วน = ผักสุก 1 ทัพพี หรือ ผักสด 2 ทัพพี ต่อมื้อ
มะละกอดิบ | กะหล่ำปลีสุก* |
มะเขือยาว | คะน้า |
หอมใหญ่ | ข้าวโพดอ่อน |
ฟักเขียว | พริกหวาน |
ผักบุ้ง | ปวยเล้ง |
แตงกวา | ผักโขม |
เห็ดนางฟ้า | เห็ดหอมสด |
*กะหล่ำปลี เน้นทานสุก ทานดิบไม่ดี เนื่องจากมีกรดออกซาลิกสูง เสี่ยงเป็นนิ่ว
**แตงกวาทานได้เฉพาะผู้ป่วยไต ผู้ป่วยเกาต์ทานไม่ได้ หากจะทานต้องคว้านเม็ด
—-เปรียบเทียบจากปริมาณผัก 1 ส่วน —-
ผัก 1 ส่วน = ผักสุก 1 ทัพพี หรือ ผักสด 2 ทัพพี ต่อมื้อ
แครอท | กะหล่ำดอก |
เห็ดฟาง | กะหล่ำปลีม่วง** |
หัวปลี | ฟักทอง |
เห็ดเผาะ | ถั่วฝักยาว |
ใบขี้เหล็ก | บร็อคโคลี |
มะเขือเทศ | มันเทศ/มันหวาน* |
มะเขือเปราะ/ มะเขือเจ้าพระยา |
มะเขือพวง |
ลูกยอ | สะเดา |
หน่อไม้ |
*มันต่าง ๆ ที่เป็นหัวอยู่ในดิน รวมถึงเผือก อยู่ในกลุ่มที่โพแทสเซียมสูง
**กะหล่ำปลีม่วง แยกออกจากกะหล่ำปลีขาว
***สะเดา กระถิน ชะอม อยู่ในกลุ่มโพแทสเซียมสูงเหมือนกัน
—-เปรียบเทียบจากปริมาณผัก 1 ส่วน —-
ผัก 1 ส่วน = ผักสุก 1 ทัพพี หรือ ผักสด 2 ทัพพี ต่อมื้อ
สรุป
-ระวังผักที่มี สีเข้ม ก่อนเสมอ
-ผักที่มีโพแทสเซียมปานกลาง สามารถรับประทานได้บ้าง และปรุงให้สุก
-ผักแปลก/ผักพื้นบ้าน หรือผักที่ไม่มีข้อมูลยืนยันโพแทสเซียม “ควรหลีกเลี่ยง”
-ควรบริโภคมื้อละไม่เกิน 1 ส่วน และหลากหลาย
ข้อควรรู้ : หากนำผักไปลวกน้ำทิ้งก่อน จะช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมได้