รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

หลักฐานทางการแพทย์เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้และอาหารที่บริโภค

1. ปี ค.ศ. 1809 นายแพทย์วิลเลียม แลมบี ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมา โดยมีการกล่าวถึง 

โรคมะเร็งว่าเกี่ยวข้องกับอาหารที่มีเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ในปริมาณสูงเป็นส่วนประกอบ

 

มีรายงานว่าเนื้องอกในระบบย่อยอาหาร สามารถลดลงได้อย่างรวดเร็ว และถูกกำจัดไปได้ ด้วยการทานอาหารที่ได้จากพืชเป็นหลัก 

ซึ่งอาจสรุปได้ว่า การทานอาหารแบบนี้โดยเคร่งครัดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทผัก จะทำให้เกิดคุณสมบัติในการเคลื่อนย้ายโรคต่างๆ ที่อยู่ภายในช่องท้อง ออกไปยังภายนอกร่างกาย

ที่มา :Dr. William Lambe, Effects of a Peculiar Regimen in Scirrhous tumors and Cancerous Ulcers (London: J. Mawman, 1809)

 

2. ปี ค.ศ. 1928 ณ เมืองบีลเฟล์ด ประเทศเยอรมนี

นายแพทย์แม็กซ์ เกอร์สัน ได้รายงานถึง การรักษาผู้ป่วยรายหนึ่ง ที่เป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีให้หายได้ด้วยอาหาร โดยให้ทานธัญพืชเต็มเมล็ด และงดเนื้อสัตว์ แป้งขาว แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องเทศ บุหรี่และยาอื่นๆ

นายแพทย์เกอร์สัน ทุ่มเททั้งชีวิตให้กับการรักษาโรคมะเร็งโดยอาศัยโภชนาการ และเมื่อ ค.ศ. 1941 ได้หนีนาซีเยอรมันไปเปิดคลินิกรักษามะเร็งอยู่นิวยอร์ค

หลายปีต่อมา เขาได้ไปแถลงต่อคณะกรรมการของสภาคองเกรสส์คณะหนึ่งของสหรัฐ และได้เรียกร้องให้มีการกลับไปรับประทานแบบดั้งเดิม เพื่อลดอัตราโรคมะเร็งให้เหลือเท่ากับสมัยก่อน 

 

เขาได้สรุปงานวิจัยและการรักษาโรคมะเร็งตลอดระยะเวลา 25 ปี ของเขาไว้ว่า

มะเร็งไม่ได้เป็นโรคที่เกิดเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง แต่เป็นโรคที่กว้าง และมีสาเหตุสำคัญมาจากความเป็นพิษของอาหารที่มาจากวิธีการเกษตรสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมอาหาร

ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น เขามองเห็นว่าการขจัดพิษในตับ เป็นกุญแจสำคัญ ที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกาย และยังได้พยากรณ์อีกว่าในอนาคตอันใกล้นี้


โรงพยาบาลและคลินิกมะเร็งสำหรับโรคความเสื่อมเรื้อรังนี้ จะถูกบังคับให้ต้องใช้ผลไม้และผักซึ่งปลูกด้วยวิธีการทำสวนแบบปลอดสารเคมี

ที่มา : Max Gerson, M.D. , A Cancer Therapy : Results of Fifty Case (Del Mar, Calif. : Totality Books, 1958)

 

3. ค.ศ. 1960 ดร.มอด เทรซิลเลี่ยน แฟร์ แพทย์หญิงซึ่งอาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ได้รายงานถึงการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของตนเอง

ว่ารักษาด้วยการทานอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืชเต็มเมล็ด โดยไม่ทานเนื้อสัตว์ ปลา เนยแข็ง น้ำตาลทราย สารกระตุ้น เครื่องเทศ และเกลือปรุงแต่งต่างๆ

เธอได้วางทฤษฎีไว้ว่า มะเร็งกับโรคความเสื่อมต่างๆของร่างกายนั้น เป็นผลมาจากความเป็นกรด หรือด่างที่มากเกินไป ในตอนที่เรามีสุขภาพดี เลือดและน้ำเหลืองของเรามีความเป็นด่างเล็กน้อย ก็เหมือนกับร่างกายของเรา

หากว่าสารพิษที่สร้างความระคายเคืองยังคงอยู่ในร่างกาย เราก็จะต้องทานอาหารที่ถูกต้องในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อทำให้กระแสเลือดบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นการผ่าตัดจึงกลายเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น

ที่มา :   Dr. Maud Tresilliam Fere, Does Diet Cure Cancer? (Northamptonshire, England : Thorsons, pp. 18-21, 1971)

 

4. ปี ค.ศ. 1974 นักวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โยงว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่มีความเกี่ยวพันกับการบริโภคเนื้อวัวในปริมาณสูง

“หลักฐานบ่งชี้ว่าเนื้อสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อวัว เป็นอาหารชนิดหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อร้ายของลำไส้ใหญ่”

ที่มา : J.W. Berg and M.A. Howell, the Geographic Pathology of  Bowel Cancer, Cancer, 34:807-14

5. ปี ค.ศ. 1977 นักวิจัยชาวอินเดียรายหนึ่งค้นพบว่า ชาวปันจาบในอินเดียตอนเหนือไม่มีผู้ใดป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อันเนื่องมาจากการกินอาหารที่มีปริมาณเส้นใยสูง

อาหารของชาวปันจาบประกอบไปด้วย จาปาตีซึ่งทำด้วยธัญพืชเต็มเมล็ด ดัลที่ทำด้วยถั่วชนิดต่างๆ แกงกะหรี่ใส่ผักกับผลิตภัณฑ์นมหมักในปริมาณเล็กน้อย

ในอินเดียตอนใต้ มีผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งกันมาก เนื่องจากมีอาหารหลัก คือ ข้าวจ้าวขัดขาว และมีการใช้ไขมัน น้ำมัน เครื่องเทศอย่างมาก ในการปรุงอาหาร

นักวิจัยสรุปต่อไปว่า การเคี้ยวอาหารอย่างละเอียด จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลง “การเคียวอาหารอย่างถูกต้อง ทำให้น้ำลายที่อุดมด้วยเมือกผสมรวมกับอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยป้องกันมะเร็ง”

ที่มา : S.L. Mahotra, Dietary Factors in a Study of Cancer Colon from Cancer Registery, With Special Reference to the Role of Saliva, Milk and Fermanted Milk Products, and Vegetable Fiber, Medical Hypotheses 3:122-26

 

6. ปี ค.ศ. 1968 นักวิจัยชาวแคนาดารายงานว่า

ผักทะเลมีสารโพลีเช็คคาไรด์ ซึ่งจะรวมตัวเข้ากับสตรอนเชียม (ธาตุกัมมันตรังสี) และช่วยกำจัดมันออกไปจากร่างกาย

การทดลองในห้องแล็บ เมื่อนำโซเดียมแอลจิเนท (sodium alginate) ที่ได้มาจากสาหร่ายเคลพ์ สาหร่ายคอมบุ และสาหร่ายสีน้ำตาลชนิดอื่นๆ ที่ขึ้นอยู่นอกชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก


ใส่เข้าไปในตัวหนูทดลอง ควบคู่ไปกับสตรอนเชียมและแคลเซียมแล้ววัดไขกระดูก 
พบว่าอนุภาคกัมมันตรังสีในกระดูกจะมีปริมาณลดลงถึง 80 เปอร์เซ็นต์
โดยไม่กระทบกระเทือนกับการดูดซึมแคลเซียม

การประเมินผลทางชีววิทยาของสาหร่ายชนิดต่างๆ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันมีความสามารถในการป้องกันการดูดซึมกัมมันตรังสีที่เกิดจากการหลอมนิวเคลียร์ในห้องปฏิบัติ รวมทั้งประโยชน์ในฐานะที่เป็นตัวกำจัดกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ

ที่มา : Y. Tanaka et al., Studies on inhibition of Intestinal Absorption of Radio Act ive Strontium, Canadian Medical Association Journal 199:169-75

 

7. ปี ค.ศ. 1974 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นรายงานว่าสาหร่ายคอมบุและโมจาบันพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเป็นผักทะเลที่รับประทานกันโดยทั่วไปในเอเชีย และใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงสมุนไพรแผนโบราณสำหรับรักษามะเร็ง

มีประสิทธิภาพในการบำบัดเนื้องอก การทดลองในห้องแลปจาก 3 ใน 4 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบว่าอัตราการยับยั้งเนื้องอกในหนูที่ถูกผ่าตัดปลูกมะเร็งกระดูกชนิดซาร์โม อยู่ระหว่าง 80 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์

นักวิจัยรายงานว่า “ในแต่ละกลุ่มที่ได้รับการบำบัดหนูจำนวนกว่าครึ่งมีสภาพการหดตัวของเนื้องอกเกือบหมดสิ้น” การทดลองทำนองเดียวกันกับหนูที่เป็นมะเร็งในเม็ดโลหิตปรากฎผลลัพธ์ในทางที่ดี

ที่มา : L. Yamamoto et al., Antitumor Effect of Seaweeds. Japanese Journal of Experimental Medicine 44:543-46

 

8. มะเร็งกับการกินเนื้อสัตว์ นายแพทย์ ชาลล์ บี ซิมโมน ประจำสถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา (NCI) เป็นแพทย์ซึ่งรักษาคนไข้มะเร็งโดยตรง ทั้งด้านเคมีบำบัด ด้านการฉายแสง และด้านภูมิชีวิต (CLINICAL IMMUNOLOGY)

เขารักษาคนไข้มะเร็งด้วยวิธีผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีบำบัดมาเกือบ 20 ปี และได้ค้นพบว่าการรักษาเช่นนี้ ได้ผลเพียงช่วยชะลอชีวิตคนป่วยเท่านั้น ไม่สามารถรักษามะเร็งได้อย่างแท้จริง

เมื่อเขาได้ย้ายมาเป็นศาสตราจารย์สอนและค้นคว้าเรื่องมะเร็งที่มหาวิทยาลัยโทมัส เจฟเฟอร์สัน ที่ฟิลาเดลเฟีย

เมื่อปี ค.ศ. 1989 เขาได้หันมาค้นคว้าและรักษามะเร็งด้วยวิธีผสมผสาน และเน้นค้นคว้าในด้านอาหารกับมะเร็งเป็นเวลา 14 ปี เขากลายเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารกับมะเร็ง

 

นายแพทย์ ซิมโมน ได้ค้นคว้าเรื่องการบริโภคเนื้อสัตว์แล้วเกิดมะเร็งจากคนไข้กว่า 800 คน และได้ชี้ให้เห็นว่าการกินเนื้อสัตว์แบบคนอเมริกัน

มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ กระเพาะ ตับ ตับอ่อน ต่อมลูกหมาก รังไข่ มดลูก รวมทั้งปอด เต้านม เลือด และต่อมน้ำเหลือง (กินสเต๊กแบบอเมริกัน คือ ปิ้ง ย่าง หรือทอด ร่วมกับมันฝรั่งย่าง เหล้า เบียร์ น้ำอัดลม)

 

นายแพทย์ ซิมโมน ชี้ให้เห็นว่าเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เมื่อเอามาปิ้ง หรือย่าง ก็จะเกิดสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ไนโตรซามีนเกิดจากเกลือโซเดียมไนไตรท์ ซึ่งใช้ใส่แช่ในเนื้อสัตว์ เพื่อที่จะรักษาเนื้อให้คงทนไม่บูดเน่า ยิ่งเป็นพวกเนื้อบด ไส้กรอกแล้ว ต้องใส่โซเดียมไนไตรท์อย่างขาดไม่ได้ เพื่อป้องกันเนื้อสัตว์เป็นพิษ

 

เมื่อสารไนไตรท์ตกถึงท้องเราแล้วผสมกับน้ำย่อยจากถุงน้ำดี และน้ำย่อยจากตับ ก็จะกลายเป็นสารไนโตรซามีน หากสะสมมากขึ้นก็เป็นสารก่อมะเร็งที่ทำให้เซลล์ดีกลายเป็นเซลล์เนื้อร้าย (กรรมวิธีในการถนอมอาหารก็จะมีการตากแห้ง การบรรจุกระป๋อง การบรรจุขวด

และต้องใช้สารเคมีประเภทที่รักษาอาหารไม่ให้บูดเน่า อย่างเช่น เกลือ ดินประสิว น้ำส้ม น้ำตาล ยากันบูด และไนไตรท์

ถ้าได้รับบ่อยๆ ก็จะทำให้เกินปริมาณสมควร ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ส่วนพ่อค้าบางคนที่ใช้ยาเคมี เช่น ฟอร์มาลิน หรือฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นยาดองศพ ใส่ในอาหารเพื่อไม่ให้บูดเน่าหรือให้ผัก ผลไม้ ดูกรอบและสด เป็นการกระทำที่เลวทรามอย่างยิ่ง เป็นการจงใจฆ่าผู้บริโภคแบบตายผ่อนส่ง ควรถูกลงโทษให้สาสม)

Cr. มหันตภัยจากการบริโภคของมนุษย์