รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging สายกินเนื้อ สายกินผัก แบบไหนก็สุขภาพดีได้ แค่รู้สิ่งนี้! goy September 17, 2020August 30, 2021 สายกินเนื้อ สายกินผัก แบบไหนก็สุขภาพดีได้ แค่รู้สิ่งนี้! เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาตลอดว่า “กินเนื้อหรือกินผัก อย่างไหนมีประโยชน์มากกว่ากัน “ เมื่อพูดถึงห่วงโซ่อาหารและการถ่ายทอดพลังงาน จะเห็นได้ว่า ผู้ผลิตคือพืช ตามด้วยผู้บริโภคอันดับต่าง ๆ เช่น ต้นข้าวเป็นผู้ผลิต สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเมื่อไก่กินข้าว ไก่จะเป็นผู้บริโภคอันดับ 1 และได้รับสารอาหารจากข้าวเมื่อมนุษย์กินไก่ มนุษย์จะเป็นผู้บริโภคอันดับ 2 ได้รับพลังงานจากไก่ เป็นต้น ซึ่งเมื่อมนุษย์กินเนื้อสัตว์ (Animal base )เหล่านี้ ก็จะได้รับสารอาหารที่มีความเข้มข้นสูง และหลากหลายมาก เนื่องจากสารอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในผักผลไม้จะอยู่ในสัตว์ที่กินผักผลไม้นั้นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับประโยคที่เรามักนำมาพูดเล่นกันว่า “สัตว์กินผัก เรากินสัตว์ เท่ากับเรากินผักด้วย” แต่สัตว์เหล่านี้มักเป็นผู้บริโภคอันดับต้น ๆ ของห่วงโซ่อาหาร หากกินอาหารที่ปนเปื้อน ก็ทำให้สะสมมาเรื่อย ๆ ได้ยกตัวอย่างสารปนเปื่อนที่มาจากการบริโภคของเนื้อสัตว์ เช่น สารเร่งเนื้อแดงเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ลักลอบนำสารเร่งเนื้อแดงมาใช้ผสมในอาหารสัตว์ เมื่อมีการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ จะส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นอันตรายมากสำหรับหญิงมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ สำหรับคนที่ชอบทานผักผลไม้เป็นหลัก (Plant base) ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าในแง่ของการลดปริมาณ Misfolding Protien (ความเข้มข้นของสารปนเปื้อน) และประโยชน์ในเรื่องของ phytochemicals (ไฟโทเคมิคอล) ที่ช่วยในเรื่องของสารอาหารและแร่ธาตุ วิตามินต่าง ๆ แต่หากพูดถึงปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ คงต้องทานในปริมาณที่มาก เพื่อที่จะได้รับสารอาหารได้เทียบเท่ากับคนที่ทานเนื้อสัตว์แต่ควรระวังในเรื่องของยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมาด้วย จะเห็นได้ว่า #การทานเนื้อสัตว์ และ #การทานผักผลไม้ มีทั้ง #ประโยชน์ และ #ข้อเสีย ด้วยกันทั้งนั้น การจะทานเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสูด ควรดูที่เรื่องของความสมดุลของการทานอาหารเป็นหลัก Related posts:โรคถุงน้ำที่ไตโรคมรณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมสตรอเบอรี่ผู้ป่วยไตเรื้อรังทานได้โปลีอะเซติลีนอาหารโรคไต The Series “EP08 แกงส้มปลากะพงผักรวม สำหรับผู้ป่วยไต”