รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

10 ประเภทอาหารที่คนเป็นโรคไตควรเลี่ยง

ทุกคนคงทราบดีว่าโดยปกติแล้ว
เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป

ลำไส้จะทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุ
และไตนั้น เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด

เพราะหน้าที่หลักของไต คือ
ทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือด

และขับถ่ายออกมาในรูปของเหลว
หรือปัสสาวะนั่นเอง

อีกทั้ง ไตของเรายังทำหน้าที่
รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
จะมีการทำงานของไตที่ลดลง

ประสิทธิภาพกรองของเสียในเลือดลดลง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การรับประทานอาหารของผู้ป่วยไตเรื้อรัง

จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลด
การทำงานหนักของไตให้ได้มากที่สุด

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ
10 ประเภทอาหารที่คนเป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยง

1. อาหารที่มีโปรตีนสูง

โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย
เพราะโปรตีนจะเข้ามาช่วยซ่อมแซม
ส่วนที่สึกหรอในร่างกาย

แต่สารอาหารประเภทนี้มักอยู่ในอาหาร
จำพวกเนื้อสัตว์ 
เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว
หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่ใช้พลังงานในการเผาผลาญ

เหตุนี้ไตจึงทำงานหนักขึ้น ด้วยการเพิ่ม
ปริมาณ กรดรวมไปถึง 
แอมโมเนีย
ที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ในไตครับ

2. คาร์โบไฮเดรตก็ต้องระวัง

รู้หรือไม่ว่า หากต้องการเลี่ยงหรือจำกัดสารอาหารโปรตีน
โดยการเลือกที่จะไม่ทานเนื้อสัตว์

และมาใช้คาร์บโบไฮเดรตให้พลังงานกับร่างกายแทนนั้น
อาจเป็นความเชื่อที่ผิด

เพราะข้าวที่ดูจะจัดอยู่ในประเภทคาร์บโบไฮเดรตนั้น
ยังมีสารอาหารโปรตีนเป็นส่วนประกอบ

เช่น ข้าวสาลีที่มีปริมาณโปรตีนถึง 14%
ทั้งนี้ควรศึกษาสารอาหารที่จะได้รับอีกครั้งก่อนรับประทาน

3.สมุนไพรต่างๆ

สมุนไพรถึงแม้จะมาจากธรรมชาติ
หรือมีสรรพคุณต่อร่างการมากมาย

ทั้งในรูปแบบแคปซูล รูปแบบน้ำ
ยาชง หรือยาจีน

เมื่อรับประทานเกินปริมาณที่จำเป็น
จะย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย

โดยเฉพาะสารอาหารที่ชื่อว่า โพแทสเซียม

หากมีการรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
จะส่งผลเสียต่อร่างกาย

ดังนั้นแล้ว ไตของคุณจะถูกใช้งาน
ทำหน้าที่กรองส่วนเกินออกจากร่างกายนั่นเอง

4.ผักและผลไม้ที่ควรเลี่ยง

นอกจากสมุนไพรจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องควบคุมแล้ว
แม้แต่ผักและผลไม้ ก็เต็มไปด้วยสารโพแทสเซียม

หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
โดยผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงมักจะเป็นผลไม้ที่มีสีเข้ม

เช่น แครอท ผักโขม ชะอม มะเขือเทศ คะน้า เห็ดโคน หน่อไม้
ฟักทอง ทุเรียน กล้วยหอม ส้มสายน้ำผึ้ง ขนุนและลูกเกด

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถทานได้
แต่ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อลดการทำงานหนักของไตครับ

5. อาหารที่มีไขมันสูง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไขมันจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ไม่ต่างจากสารอาหารประเภทอื่น ๆ

แต่หากมีการรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก
จะมีการใช้พลังงานในการเผาผลาญที่มาก
ไตของเราจะทำงานหนักขึ้น

ทั้งนี้ไม่ควรรับประทานไขมัน
ที่ให้พลังงานสูงกว่า 30% ในแต่ละวัน

ไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น หมูสามชั้น
ไข่เจียว หนังทอดต่างๆ ปาท่องโก๋ และของทอดอื่นๆ

6. อาหารที่มีโซเดียมสูง

ตามหลักทางการแพทย์ ผู้ป่วยไตเรื้อรัง
ไม่ควรได้รับปริมาณของโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ซึ่งในปัจจุบันนี้ อาหารหลายชนิดนั้น
มีปริมาณโซเดียมที่สูงมาก

ดังนั้นแล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทอาหารแปรรูป

จำพวกเนื้อสัตว์เช่นไส้กรอก กุนเชียง
อาหารประเภทดองเค็ม เช่น ปูเค็ม ไข่เค็ม
ผักและผลไม้ดองเค็มต่างๆ

7. อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

ฟอสฟอรัสนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
แต่ตามที่กล่าวไป

หากรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง
จะทำให้ไตของเราทำงานหนัก

เพราะไตจะต้องกรองฟอสฟอรัสผ่านออกมา
กับปัสสาวะในปริมาณถึง 2 ใน 3

ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกมาผ่านอุจจาระ

โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
หรือทานในปริมาณที่พอดี คือไข่แดง นม
รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ
เช่น เนย หรือ โยเกิร์ต รวมไปถึงเมล็ดพืชและถั่วต่างๆ

8. อาหารประเภทใช้ยีสต์ และเครื่องปรุงรส

ผู้ป่วยไตเรื้อรัง ควรงดอาหารประเภทยีสต์
ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง ซาลาเปา หมั่นโถว

เพราะในยีสต์นั้นมีสารฟอสเฟตอยู่มาก

อีกทั้ง ควรเลี่ยงการปรุงอาหาร
ด้วยเครื่องปรุงรส ที่มีรสเค็มจัด หรือ มีการหมักดอง

เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ เกลือ

เพราะเครื่องปรุงเหล่านี้มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง

9. อาหารที่มีพิวรีนหรือกรดยูริก

ผู้ป่วยที่มีปริมาณกรดยูริกในเลือดสูงอยู่แล้ว

ควรลดหรือเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีน
เนื่องจากพิวรีนจะถูกเผาผลาญออกมาเป็นกรดยูริก

เมื่อในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อไต
ทั้งนี้อาหารประเภทนี้ ที่ควรหลีกเลี่ยง

ได้แก่ ปลาซาดีน,ปีกไก่,เป็ด,ตับ,ไต
รวมไปถึงยอดผักอ่อนๆเช่น ยอดตำลึงหรือยอดฟักทอง

10. น้ำเปล่า

อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ น้ำเปล่าที่เราดื่มกันทุกวันนี้แหละ
แต่เพียงแค่เป็นการดื่มให้น้อยลงในปริมาณที่พอดีเท่านั้น

เพราะผู้ป่วยไตเรื้อรังบางรายอาจจะมีอาการบวมน้ำ

สาเหตุมาจากไตนั้น ขับปัสสาวะได้น้อยลงกว่าเดิม
บวกกับมีภาวะความดันโลหิตสูง

ควรจะควบคุมปริมาณการดื่มน้ำสะอาดให้ลดลง

แต่หากผู้ป่วยไม่มีอาการบวมน้ำ
ก็สามารถดื่มน้ำได้ในปริมาณตามปกติ

หากผู้ป่วยไตเรื้อรัง มีข้อสงสัยเพิ่มเติม
เกี่ยวกับอาหารที่ควรเลี่ยง

ตลอดจนวิธีการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องนั้น

ผู้ป่วยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาล
รวมไปถึงนักโภชนการ เพื่อช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยไตเรื้อรัง

ให้สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

และถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนั้น
จะมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร
มากกว่าคนที่สุขภาพแข็งแรงทั่ว ๆ ไป

แต่ถ้ามองในข้อดีของการที่เราหันมาใส่ใจอาหาร
ที่เรารับประทานมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น
ไม่เพียงเฉพาะกับไต แต่ส่งผลที่ดีต่อร่างกายมวลรวมอีกด้วย