รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

” นอนน้อย ก็ตายได้ ” แม้จะออกกำลังกาย กินอาหารดีๆ เหล้าไม่ดื่ม เรื่องจริงผู้บริหารไฟแรงระดับโลก


ข่
าวช็อคโลก เมื่อรานจัน ดาส (Ranjan Das) อายุ 42 ปี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทซีเอพี ประเทศอินเดีย (SAP-Indian subcontinent)

หนุ่มหล่อโปรไฟล์เริ่ด เพรียบพร้อมทั้งการศึกษา ฐานะ การงาน และครอบครัวที่อบอุ่น ต้องมาเสียชีวิต จากภาวะหัวใจวายหยุดเต้นรุนแรง ในเมืองมุมไบ ด้วยสาเหตุที่หลายๆ คนละเลย นั่นคือ “การอดนอน”

นิตยสาร Forbes India เคยนำเรื่องการเสียชีวิตของผู้บริหารหนุ่มผู้นี้ ยกเป็นประเด็นเกี่ยวกับการใช้ร่างกายเกินลิมิต เป็นวิถีชีวิตที่คนเมืองในปัจจุบันอย่างเราๆ เผชิญอยู่จริงๆ วิถีชีวิตแบบ Work Hard Play Hard

รานจัน เป็นผู้รักสุขภาพมาก โดยเขาออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ และยังชอบวิ่งมาราธอน เขาฝึกซ้อมเป็นประจำ และเข้าร่วมกิจกรรมมาราธอนเมืองเชนไนทุกปี

ทว่าวันหนึ่งหลังจากกลับจากการออกกำลังกาย เขาก็มีอาการหัวใจวาย และเสียชีวิตทันที

เขาทิ้งภรรยาและลูกสองคนที่ยังเล็กของเขา แน่นอน เหตุการณ์นี้ ปลุกเตือนองค์กรหลายวงการของอินเดีย
สร้างความตระหนกสำหรับนักวิ่ง และนักกีฬาไปทั่วโลก

.

คำถามที่เกิดขึ้น ทำไมคนที่ดูภายนอกแข็งแรงอย่างยิ่ง??
ทำไมต้องเสียชีวิตต่ออาการหัวใจวาย ในขณะที่อายุเพียง 42 ปี

ทุกคนมองข้ามสิ่งเล็ก ๆ แพทย์ระบุว่าการเสียชีวิตของรานจัน มีสาเหตุมาจากการ นอนหลับเพียงวันละ 4-5 ชั่วโมง

ในการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้า Ranjan Das ให้สัมภาษณ์ NDTV ในรายการ ‘Boss’ day out’ , Ranjan Das ยอมรับว่าเขานอนน้อย และอยากที่จะได้นอนหลับมากกว่านี้

โดยผู้เชี่ยวชาญชี้แจงว่า การนอนหลับน้อยกว่า 5-6 ชั่วโมง ทำให้ความดันเลือดผิดปกติ 350% – 500% เมื่อเทียบกับผู้ที่หลับนานกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน

ผู้มีอายุระหว่าง 25-49 ปี มักมีอาการความดันเลือดสูง หากนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง และมีความเสี่ยงอาการหัวใจวายเพิ่มขึ้น 3 เท่า หากนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมง

การนอนที่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้น 39% ในการเกิดโรคหัวใจ
การนอนที่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้น 8% ในการเกิดโรคหัวใจ

​นอกจากนี้การนอนหลับไม่เพียงพอ ยังทำให้โปรตีน C-Reactive Protein ซึ่งตอบสนองอาการอักเสบในร่างกาย มีความไวสูง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หัวใจวาย

การไม่ได้นอนเพียงหนึ่งวัน จะทำให้สารเคมีในร่างกายไม่คงที่ สร้างกรดในร่างกาย และกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโต

การนอนหลับที่ดีต้องทำอย่างไร?

การนอนหลับประกอบด้วย 2 ระยะ
ระยะที่ 1 REM (Rapid Eye Movement-ช่วงที่ลูกตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว)
ระยะที่ 2 non-REM

ช่วง REM จะช่วยในการปรับปรุงสภาพจิตใจ เป็นช่วงที่จิตใจได้พักผ่อน
หากนอนหลับในระยะนี้นานเพียงพอ สมองจะทำงานได้ดีในเช้าวันต่อมา

ช่วง non-REM จะช่วยในการซ่อมแซมและเสริมสร้างสภาพร่างกาย
เพราะช่วงนี้ที่ร่างกายฟื้นฟูตัวเอง หากหลับระยะนี้นานพอ ร่างกายจะแข็งแรง
สำหรับผู้ป่วย หรือร่างกายไม่แข็งแรง จึงควรนอนหลับนานกว่าปกติอีก 1-2 ชั่วโมง

ไม่น่าแปลกใจ เมื่อคุณตื่นขึ้นมาจากนาฬิกาปลุก หลังจากนอนแค่ 5-6 ชั่วโมง คุณจะรู้สึกหงุดหงิด ร่างกายไม่สดชื่นตลอดทั้งวัน

และถ้าใครได้นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมง จะพบว่าร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่ฉบับสมบูรณ์
คุณจะเหนื่อยตลอดทั้งวันและภูมิคุ้มกันจะลดลง
เพราะทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ได้รับการฟื้นฟูเพียงพอ

คนเราไม่ใช่หุ่นยนต์ ถ้าอยากมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ไม่แก่ไว ไม่ป่วยง่าย
อย่าตั้งนาฬิกาปลุกของคุณให้ต่ำกว่า 7 ชั่วโมงสำหรับการนอน

เพราะเรารู้ว่า ไม่ใช่เฉพาะ รานจัน ดาส เขาไม่ได้เป็นแบบนี้คนเดียวแน่นอน
มีอีกหลายล้านคนทั่วโลก ที่มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน และเสียชีวิตจากโรคหัวใจวายเช่นนี้