รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

เรานอนชดเชยได้หรือไม่?

ได้แน่ โลกทุกวันนี้วุ่นวายสิ้นดี มีแต่งานกับงาน งานที่ต้องแข่งกับเวลา ซึ่งทำให้ในแต่ละวัน คล้ายมีมากกว่า 24 ชั่วโมง

จึงต้องสละ”เวลานอน” ให้กับสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา แต่ในที่สุดเมื่อถึงวันหยุดสุดสัปดาห์

เรามีโอกาสนอนมากขึ้น เข้านอนเร็วขึ้น 2-3 คืนติดต่อกัน

หรือไม่ก็งีบหลับตอนกลางวันเพื่อชดเชยการอดนอน หรือนอนไม่พอในวันก่อนๆ

ในรายที่อดนอนอย่างหนัก ผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่า กว่าจะใช้หนี้ “นอนไม่พอ” หมด

อาจจะต้องใช้เวลานอนชดเชยถึง 6 สัปดาห์ การหลับขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

หนึ่งในนั้นคือประสิทธิภาพการหลับซึ่งเป็นผลจากการหลับอย่างถูกต้อง

หากรูปแบบคลื่นสมองถูกต้องตรงตามเวลา คนนอนน้อยที่ต้องการการชดเชยก็จะได้นอนหลับอย่างมีความสุข

ดร.มาร์ก บลาโกรฟ (Mark Blagrove) พูดถึงผลการศึกษาของบางกลุ่มว่า

“คนนอนน้อยปรับตัวได้ดีกว่า ขยันกว่า และบุคลิกมั่นคงกว่าคนหลับยาว แต่การศึกษาอื่นๆไม่ยืนยันการค้นพบข้อเท็จจริงนี้

นักวิจัยยอมรับว่ายิ่งนอนน้อยก็ยิ่งกินมาก หากกลางคืนคุณนอนไม่พอ เป็นไปได้ว่าจะรู้สึกหิวมากขึ้นเล็กน้อยในตอนกลางวัน

นักวิจัยพบว่า ผู้ที่ต้องการนอนคืนละ 6 ชั่วโมง สามารถหลับลึก (deep sleep) ได้มากพอๆ กับคนทั่วไป

แต่จะไม่มีการหลับตื้น (light sleep) ในชั่วโมงแรกและชั่วโมงสุดท้ายของการนอนหลับเหมือนคนทั่วๆไป

ผลการศึกษาพบว่า คนตื่นเช้าสามารถปรับตัวกับอาการเจ๊ตแล็ก (jetlag –เพลียหลังจากโดยสารเครื่องบินระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาที่ออกเดินทางกับที่ปลายทางแตกต่างกันมาก) ได้ง่ายกว่าคนตื่นสาย

Cr.มหัศจรรย์แห่งชีวิต