รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

ความหิวเเละความอิ่ม

ร่างกายมีการทำกิจกรรมทั้งสองอย่างนี้คู่ขนานกันไปตลอด 24 ชม. ความหิวจะเหมือนกับการนอน โดยจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ตามปกติ แม้ว่ารูปแบบการใช้ชีวิตอาจทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ตรงตามเวลาก็ตาม แต่เมื่อท้องร้อง นั้นแสดงว่าร่างกายต้องการอาหาร หรือหิวแล้ว

สังเกตอาการหิว

สัญญาณเตือนที่ชัดเจนที่สุดเมื่อร่างกายต้องการอาหาร  คือ การตอบสนองทางร่างกาย ของกระเพาะอาหารและเลือด ซึ่งทำให้เราทราบว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องหาอาหารใส่ปากและท้อง

  • ท้องร้อง ถ้ากระเพาะอาหารพูดได้ ก็คงส่งเสียงร้องให้คุณป้อนอาหารให้มันแล้ว สัญญาณเตือนนี้เเสดงว่าร่างกายหิวแล้ว

ความหิวจะทำให้กล้ามเนื้อบีบรัดตัว เมื่อกระเพาะอาหารเต็ม อาการบีบรัดตัวจะลดน้อยลง อาหารจะเคลื่อนไปตามลำไสั แต่ถ้ากระเพาะอาหารว่าง กระเพาะอาหารจะบีบรัดลมในท้อง ซึ่งทำให้ท้องส่งเสียงร้องออกมา
.

  • ความรู้สีกว่าท้องว่าง ทุกครั้งที่คุณกินอาหาร ตับอ่อนจะหลั่งสารอินซูลิน ชึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้น้ำตาล (mina) ในเลือดออกจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์โดยกลูโคสเป็นเชื้อเพลิงเบื้องต้นที่ร่างกายใช้เป็นพลังงาน

ผลก็คือ ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นและลดลงโดยธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกท้องว่างและกระตุ้นให้คุณต้องไปหาอาหารกิน คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์เช่นนี้ซึ่งเป็นวงจรที่ใช้เวลาประมาณ 4 ชม.

ความรู้สึก “อิ่ม”

ความรู้สึกอิ่มเกิดขึ้นหลังจากกินอาหารเสร็จ กระเพาะอาหารเต็ม และถึงเวลาที่ต้องลุกจากโต๊ะอาหารแล้ว

งานวิจัยด้านโภชนาการและความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ต่อมไฮโปธาลามัสซึ่ง เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่ตอนกลางส่วนหลังของก้านสมอง (ส่วนที่เชื่อมต่อกับตอนบนของกระดูกไขสันหลัง) เป็นศูนย์ควบคุมความรู้สึกอยากกินอาหาร โดยเป็นต่อมที่ผลิตฮอร์โมนและสารเคมีต่างๆ ที่ควบคุมความหิวและความอยากอาหาร

กล่าวคือ ต่อมไฮโปธาลามัสจะปล่อยสารนิวโรเปปไทด์ Y (NPY) และเปปไทด์ YY ซึ่งสารเคมีทั้งสองชนิดนี้ จะถูกส่งไปยังเซลล์สมอง และส่งสัญญาณว่าร่างกายต้องการอาหารเซลล์อื่นๆในร่างกายก็มีบทบาทเมื่อร่างกายกินอาหารจนอิ่มแล้ว

ในปี ค.ศ.1995 นักวิจัยมหาวิทยาลัยรอคกีเฟลเลอร์ พบว่ายีนในเซลล์ไขมัน (เซลล์ที่มีไขมันสะสมอยู่) ที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า “เลปติน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะแจ้งให้เราทราบว่า มีไขมันสะสมอยู่มากน้อยเท่าไรในร่างกาย

อีกทั้งทำหน้าที่ควบคุมความหิว(ความต้องการอาหารเพื่อให้เกิดพลังงาน) ทำหน้าที่ลดการหลั่งสาร NPY (ฮอร์โมนที่เตือนว่าร่างกายหิวแล้ว) ของต่อมไฮโปธาลามัส

โดยเมื่อฉีดสารเลปตินเข้าไปในหนูอ้วน หนูจะกินน้อยลง เผาผลาญอาหารได้เร็วขึ้น และน้ำหนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนักวิจัยมีความหวังว่าข้อมูลที่ได้นี้จะนำไปสู่การผลิตยาลดความอ้วนที่ได้ผลและมีความปลอดภัย

Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น