รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

4 อันตรายจากยานอนหลับ

ในยุคสมัยที่มีภาวะความเครียด แรงกดดัน รวมถึงสิ่งเร้าต่างๆมากมาย

ทำให้พบเห็นคนที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ ถึงร้อยละ 30-40 ของประชากร
และพบว่าเป็นคนไทยราว 19 ล้านคน

โดยคนในเมืองใช้ยานอนหลับ อยู่ที่ 3.7 %
คนในชนบทใช้ยานอนหลับ อยู่ที่  3.1 %

คนส่วนใหญ่ที่นอนไม่หลับ

มักรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการใช้ยานอนหลับ

ยานอนหลับนั้น มีมากมาย
เพราะเป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของยาหลากหลายชนิด

ที่มีผลโดยตรงหรือมีผลข้างเคียง
ทำให้เกิดอาการง่วง และทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่า
รายใดควรใช้ยานอนหลับประเภทใด

เนื่องจากมีผลวิจัยมากมาย กล่าวว่า
การทานยานอนหลับ ติดต่อกันเป็นเวลา นาน ๆ
จะส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ตามมา ดังนี้

1. เกิดการดื้อยา

ทุก ๆ ชั่วโมงในประเทศไทย
มีผู้เสียชีวิตจากการดื้อยาเฉลี่ย 2 คน

การดื้อยาของเชื้อโรค
เกิดจากการที่ใช้ยามากเกินไป

จนเชื้อพัฒนาให้สามารถต่อต้านได้ด้วยตัวเอง
ลดการตอบสนองต่อยา

ทำให้ปริมาณยา ที่ใช้ในขนาดเดิมไม่ได้ผล
ต้องใช้ขนาดยาสูงขึ้น

เพื่อให้ได้ผลการตอบสนองเท่าเดิม
จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยง
ที่จะเกิดผลข้างเคียงจากยา มากยิ่งขึ้น

2. เกิดการติดยา

เมื่อใช้ยาติดต่อกัน สักระยะหนึ่ง
แล้วหยุด ไม่ใช้ยา อาจทำให้นอนไม่หลับ

จึงต้องใช้ยาอยู่ตลอดทุกวัน
เหมือนกับการติดยา
หรือต้องพึ่งยาจึงจะช่วยให้นอนหลับได้

หากหยุดยาทันที จะมีอาการกระสับกระส่าย
นอนไม่หลับ มีความกังวลเกิดขึ้น
จะยิ่งทำให้หลับยากขึ้นไปอีก

ปัญหาที่เกิดจากการติดยานอนหลับ

  • หงุดหงิด ชอบทะเลาะวิวาท และก่อพฤติกรรมรุนแรง ขาดความละอาย
    .
  • มักจะติดยาหลายชนิด โดยเฉพาะยากระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน
    .
  • มักใช้ร่วมกับสุราและยาประเภทฝิ่น หากใช้ร่วมกับสุราจะเสริมฤทธิ์กันทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
    .
  • จะเกิดการทนยา ทำให้นอนไม่หลับด้วยยาขนาดที่เคยหลับ
    และขณะเดียวกันก็มีความสับสน เลยกินยาเข้าไปอีกโดยไม่รู้ตัว
    จนเกิดภาวะเป็นพิษจากยาถึงขั้นเสียชีวิตได้

3.เกิดโรคทางสมองและระบบประสาท

ยานอนหลับเป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาท
จะช่วยทำให้การทำงานของสมองลดลง

เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
จะทำให้เซลล์สมองเสื่อมได้

ผู้ป่วยจะเลอะเลือน จำอะไรไม่ค่อยได้

ผู้สูงอายุ ที่กินยานอนหลับติดต่อกัน
ป็นเวลานานเกิน 3 ปี

มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้กินยานอนหลับ

4.มีโอกาสเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

เนื่องจากยานอนหลับประเภท benzodiazepine
มีฤทธิ์กล่อมประสาท และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

และยังขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ

นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น
อาการ Amnesia(อาการไร้สติ ไม่รู้สึกตัว ลืมว่าตัวเองทำอะไรอยู่)

คอแห้ง ปากแห้ง มีอารมณ์เกรี้ยวกราด นอนไม่หลับ
สับสน ว้าวุ่น ประสาทหลอน วิงเวียน มึน งง ท้องผูก ท้องเสีย

เบื่ออาหารหรืออาจหิวบ่อย มือสั่น ใจสั่น ซึมเศร้า
อาจทำให้เกิดอันตรายจากการง่วงนอน

โดยปกติในขณะนอนหลับ สมองของคนเรา
จะสั่งให้ฮอร์โมนไปซ่อมแซมร่างกายส่วนต่างๆ

แต่หากกินยานอนหลับเข้าไป  ฮอร์โมนนั้นจะไม่ได้ทำงาน
จึงทำให้ร่างกายไม่ได้ซ่อมแซมตัวเอง

ร่างกายจึงเสื่อมโทรมลง
เป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่างๆมากมายตามที่กล่าวมาข้างต้น

หมอจึงแนะนำ

ให้คนไข้ กินยานอนหลับได้ไม่เกิน เดือนละ 5 เม็ด
เท่ากับ 1 ปี กินได้ไม่เกิน 60 เม็ดนั้นเอง

หากพบว่า ตนเองนอนไม่หลับ ติดต่อกัน 2 สัปดาห์
แนะนำให้พบแพทย์ ไม่ควรหาซื้อยามาทานเอง

เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ตรงจุด
เพราะยานอนหลับเป็นเพียงการทุเลาเท่านั้น

หากจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับ ควรปฏิบัติตัวตามสุขอนามัยในการนอนที่ดีร่วมด้วย
โดยจัดบรรยากาศในห้องนอน ให้นอนสบาย ไม่มีสิ่งรบกวน

เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา
จำกัดเวลานอนให้เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

หาวิธีผ่อนคลายความเครียด และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
รวมทั้งหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่


หากปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยานอนหลับอีก

การใช้ยานอนหลับ ควรระวังเป็นพิเศษ
ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต และผู้สูงอายุ
เนื่องจากมีโอกาสที่ยาจะสะสมอยู่ในร่างกายได้ง่าย

ควรหลีกเลี่ยง การใช้ยา
ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร
ผู้ป่วยโรคปอด และผู้ใช้ยาที่มีฤทธิ์กดประสาท

และหากทานยานอนหลับ ในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล จะเป็นอันตรายต่อชีวิต

หากไม่หยุดพฤติกรรมเหล่านี้
และไม่ได้รับการบำบัดที่เหมาะสม

อาจทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย
และไม่สามารถควรคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆในร่างกายได้

“ผู้ป่วยจะมีเหมือนตายทั้งเป็น”