รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

ภาวะลำไส้รั่ว(Leaky Gut Syndrome) คืออะไร

ภาวะลำไส้รั่ว(Leaky Gut Syndrome) คืออะไร

ในลำไส้เล็ก จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร เรียกว่า วิลไล(Villi)

วิลไลจะมีลักษณะเป็นลอนตามขวางเรียงตัวชิดกันแน่นเป็นระเบียบ
เพื่อดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย
ส่วนสารพิษหรืออาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์จะถูกส่งผ่านและขับถ่ายออกจากร่างกายต่อไป

เมื่อมีความผิดปกติหรือการอักเสบเกิดขึ้น
ความสามารถในการดูดซึมอาหารจะเสียไป

 

อีกทั้งยังมีการบวมของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้
ทำให้เกิดช่องว่างที่บริเวณ ‘tight junctions’
หรือเซลล์ดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กขึ้น

 

ซึ่งตรงช่องว่างนี้เองที่ทำให้สารพิษ
และอาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์เล็ดลอดเข้าไปสู่ระบบไหลเวียนเลือด

 

ซึ่งโดยปกติแล้วสารดังกล่าว
ไม่เคยผ่านเข้ามาได้

 

เราเรียกภาวะนี้ว่า”ลำไส้รั่ว”(ไม่ใช่ลำไส้ทะลุ)

 

สาเหตุของภาวะลำไส้รั่ว

  • ลำไส้เสียสมดุล
  • ความเครียด
  • การทานยาบางชนิด (โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวดต่างๆ ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรครวมทั้งจุลินทรีย์ชนิดดี)
  • การทานอาหารแบบเดิมซ้ำๆ
  • การแพ้อาหาร

การแพ้อาหาร

“การแพ้อาหาร” มีผลต่อสุขภาพลำไส้เป็นอย่างมาก

 

เมื่อลำไส้อักเสบไปจนถึง”รั่ว”
ผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้อาหารมีโอกาสแพ้อาหารสูง

 

และผู้ที่ทานอาหารที่ตัวเองแพ้โดยไม่รู้ตัวว่าแพ้เป็นประจำ
อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วเช่นกัน

 

“มีคนจำนวนมากแพ้อาหารโดยไม่รู้ตัว
โดยการแพ้อาหารจะเกิดในช่วงเวลาใดของชีวิตก็ได้
และการแพ้อาหารของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันออกไป

 

  •   การแพ้อาหารแบบถาวร

คือการแพ้อาหารชนิดนั้นตลอดชีวิต
ทุกครั้งที่เผลอทานจะมีอาการ

 

  • การแพ้แบบแปรผัน

คือการแพ้เป็นบางช่วงบางครั้ง
อาจกลับมาทานอาหารนั้นใหม่ได้อีก

 

อาการแพ้อาหาร

แต่ละคนมีอาการที่แตกต่างกันไป มีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก

  • ปวดหัว
  • ง่วงนอน
  • คันตา
  • เป็นผื่นหรือเป็นสิว
  • ท้องเสีย
  • หายใจไม่ออก
  • แน่นหน้าอก
  • มีอาการช็อก

การทดสอบว่าแพ้อาหารชนิดใดบ้างมีหลายวิธี ซึ่งมักอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • ทดสอบทางผิวหนัง
  • ตรวจหาจากเลือด

ผู้ที่มีภาวะลำไส้รั่ว มีความเป็นไปได้สูงว่า จะแพ้อาหารทุอย่าง
หากหายจากภาวะลำไส้รั่วก็อาจกลับมาทานอาหารทุกอย่างได้

 

ผลเสียเมื่อเกิดภาวะลำไส้รั่ว

ตับทำงานหนักมากขึ้น ยิ่งตับทำงานหนักมากเท่าไหร่
ยิ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานแปรปรวนไปด้วย

บางรายภูมิคุ้มกันอาจทำงานผิดพลาด

  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ไทรอยด์
  • เบาหวาน
  • ปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรื้อรัง(fibromyalgia)
  • ข้อเสื่อม
  • โรคอ้วน
  • ผมร่วง
  • นอนไม่หลับ
  • สมาธิสั้น
  • แพ้อาหาร
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • สิวอักเสบเรื้อรัง

วิธีทดสอบว่าเป็นภาวะลำไส้รั่วของแพทย์บางราย

ใช้วิธี Lactulose/mannitol test

 

Lactulose (แล็กทูโลส) เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่
ซึ่งปกติไม่สามารถดูดซึมเข้าผนังลำไส้ได้ จึงตรวจไม่พบในปัสสาวะ
ดังนั้น หากตรวจพบน้ำตาลชนิดนี้ในปัสสาวะ นั้นหมายถึงว่ามี “ภาวะลำไส้รั่ว”

 

mannitol(แมนนิทอล) เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก
ซึ่งปกติสามารถดูดซึมเข้าผนังลำไส้และตรวจพบในปัสสาวะได้
ดังนั้น หากตรวจพบน้ำตาลชนิดนี้ในปัสสาวะน้อยลง นั้นหมายถึงว่ามี “ภาวะลำไส้รั่ว”

 

การรักษาภาวะลำไส้รั่ว

1. ทานจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
เช่น  จุลินทรีย์ตระกูลLactobacillus
หรือตระกูล Bifidobacteria
ช่วยทำลายแบคทีเรียร้ายและเกื้อกูลแบคทีเรียดีในลำไส้

2. รับประทานผัก ผลไม้
ที่มีวิตามินและกรดอะมิโนที่ช่วยในการซ่อมแซมเยื่อบุผิวลำไส้

3. ดื่มน้ำให้มากๆ
เพื่อช่วยการทำงานของทางเดินอาหารทั้งระบบ
รวมทั้งงดเครื่องดื่มกาเฟอีน และแอลกอฮอล์ที่จะไปกระตุ้นลำไส้ให้ทำงานผิดปกติ

4. ทานอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
เช่น  กระเทียม กล้วย หอมหัวใหญ่ ต้นหอม น้ำผึ้ง หน่อไม้ฝรั่ง และรากชิโครี
ซึ่งเหล่านี้จะอุดมด้วย FOS , Inulin
เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่ดีในร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์

5. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย
ปรับเปลี่ยนอาหาร ลดการใช้ยา และปรับสภาพจิตใจ
เข้านอนให้เร็วขึ้น เพราะการนอนเป็นวิธีการพักผ่อนและฟื้นฟูร่างกายได้ดีที่สุด
ที่สำคัญอีกอย่างคือพยายามลดความเครียด