รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

นอนตอนกลางคืนแล้วตื่นตอนเช้ากลับไม่รู้สึกสดชื่นเพราะอะไร?

คุณน่าจะอยู่ในกลุ่มอาการ unrefreshing sleep syndrome

ดร. เอ็น. เจ. ดักลาส (N.J. Douglas) กล่าวว่า

ราว 1 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรผู้ใหญ่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งอาการหลักๆ มี 2 ประการ คือ

กรนเสียงดัง (95 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีอาการทั้งหมด)

และง่วงตอนกลางวัน (90 เปอร์เซ็นต์)

แต่ 40 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เคยมีอาการตื่นในตอนเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่นมาแล้ว หรือตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเพลีย หรือรู้สึกเพลียหนักกว่าตอนก่อนจะเข้านอนเสียอีก

ดร. ชาร์ลส์พอลแล็ก (Charles Pollack) กล่าวว่า

“ความรู้สึกของคนเรา หลังจากตื่นนอน ไม่ว่าจะเป็นการนอนตอนกลางวันหรือกลางคืน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับระยะการนอนหลับก่อนที่จะตื่นเล็กน้อย”

เมื่อพวกเขานอนหลับ แบบอาร์อีเอ็ม หลังจากตื่น พวกเขาจะรู้สึกสดชื่น

อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือสภาวะอื่น เช่น ซึมเศร้า หายใจไม่สะดวก หรือยาที่ใช้ไปรบกวนการหลับแบบอาร์อีเอ็ม

เป็นไปได้ว่า คนคนนั้นจะตื่นตอนที่หลับแบบ slow-wave sleep ซึ่งเป็นการหลับลึกโดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของดวงตา ซึ่งต่างจากการหลับแบบอาร์อีเอ็ม

ดังนั้น กว่าพวกเขาจะได้หลับแบบอาร์อีเอ็ม “พวกเขาจะรู้สึกเพลีย” ไม่สดชื่นทั้งๆ ที่ใช้เวลานอนมากพอสมควร

ดร.ทอม แม็กเคย์ (Tom Mackay) แนะนำว่า

“คุณต้องนอนให้ครบวงจรการหลับ เพื่อจะตื่นด้วยความสดชื่น หากการงีบหลับของคุณสั้นจนเกินไป คุณภาพการหลับย่อมไม่ดีพอ

ดังนั้น อาจจะรู้สึกเพลียกว่าเดิม เพราะขาดวงจรการหลับที่จำเป็นสำหรับการตื่นอย่างสดชื่น”

ดร.มาร์ก บลาโกรฟ (Mark Blagrove) แห่งคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเวลส์ ในเมืองสวอนซี กล่าวว่า

“บางครั้งบางคน ขาดการหลับแบบอาร์อีเอ็มไป 2-3 ชั่วโมง กลับมีประโยชน์ เพราะทำให้ตื่นตัวมากกว่าเดิม

จึงนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดอาการซึมเศร้าได้”

Cr.มหัศจรรย์แห่งชีวิต