รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) คืออะไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือภาวะผิดปกติของระบบประสาท ที่ทำให้หยุดหายใจประมาณ 10 วินาที หรือนานกว่านั้น

เป็นความผิดปกติทางประสาท ที่ส่งผลให้รู้สึกง่วงมากตอนกลางวัน และอาจง่วงถึงขนาดหลับเมื่อใดก็ได้ เพราะควบคุมไม่ได้ หรือที่เรียกว่าสลิป อะแทค (sleep attack)

สุขภาพจิตของผู้มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ จะเสื่อมลง กลายเป็นคนสับสนง่าย ตัดสินใจผิดพลาด

นอกจากจะนอนตามปกติไม่ได้แล้ว ยังมักหยุดหายใจ บ่อยๆ ความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่ออาการหัวใจวายมากขึ้น

และมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายด้วย แต่อันตรายมาก หากเกิดขึ้นขณะขับรถ

ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เกิดอาการ สลิป อะแทค อย่างปัจจุบันทันด่วน และไม่สามารถควบคุมได้

โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าจึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ผลจากการวิจัยชี้แนะว่า ถนนจะปลอดภัยมากขึ้น

หากไม่ออกใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือห้ามไม่ให้ขับรถ นักวิจัยบางคนเห็นด้วย

ดร.ลาร์รี ฟินด์ลี่ย์ (Larry Findley) ดร.มาร์ก อุนเวิร์ซ แก็ท (Mark Unverzgat) และ ดร.พอล เซอแรตต์ (Paul Suratt) ให้ความเห็นว่า

ผู้มีอาการนี้ มีโอกาสขับรถประสบอุบัติเหตุ มากกว่าคนขับที่เป็นปกติถึง 7 เท่า

หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุอย่างน้อย 1 ครั้ง ไม่ว่าในช่วงเวลาใดก็ตาม มากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า

และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ พวกเขาจะเป็นฝ่ายผิดถึง 8 เท่า

เหตุที่ผู้มีอาการดังกล่าว มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ทางรถยนต์มาก ก็เพราะมักผล็อยหลับคาพวงมาลัย

ทีมวิจัยชุดนี้ อ้างรายงานว่า เกือบ 1 ใน 4 คนผล็อยหลับขณะขับรถ “อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง”

และเนื่องจาก “เป็นไปได้ว่าคนไข้ ที่มีอาการหยุดหายใจช่วงสั้นๆ ไม่ยอมพูดความจริงว่าง่วง ขณะขับรถเสมอไป

และอาจพยายามปกปิดปัญหาการขับรถของตนเองอีกต่างหาก

ตัวเลขที่บอกว่ามีคน 24 เปอร์เซนต์ที่มีอาการผล็อยหลับอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง จึงอาจต่ำกว่าความเป็นจริง”

ทีมของ ดร.ฟินด์ลี่ย์ พบข้อเท็จจริงที่น่าวิตกอีกว่า แม้ว่าอุบัติเหตุ 25 เปอร์เซ็นต์ จะเกิดจากการผล็อยหลับหรือหลับใน

“แต่มีผู้เสียชีวิตถึง 83 เปอร์เซ็นต์ ด้วยสาเหตุนี้” ที่พบเห็นบ่อยๆ คือ

คนขับเผลอหลับคาพวงมาลัย รถจึงพุ่งเข้าไปในช่องรถสวน และมักจบลงด้วยความตาย

กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้เสียชีวิต ที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาจจะนำไปสู่การกล่าวหาผิดพลาด ว่าเป็นความผิดของอีกฝ่าย

เนื่องจากรายงานการชันสูตรศพ คนขับที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจไม่บอกให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุ

ไม่เหมือนกับอุบัติเหตุที่เกิดจากคนขับเมาสุรา ซึ่งสามารถยืนยันได้ด้วยระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด

ทีมของ ดร.ฟินด์ลี่ย์ ศึกษาข้อมูลอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งมีประชากรทั้งหมดประมาณ 6 ล้านคน

ในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981-1985 รวมถึงอุบัติเหตุที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหายมากกว่า 500 เหรียญ

แล้วเปรียบเทียบข้อมูลทั่วทั้งรัฐ กับข้อมูลการขับรถของคนไข้ ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ที่ได้จากห้องปฏิบัติการด้านความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนแห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย

ขณะที่เรายังไม่ทราบอะไรมากนัก เกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ในฐานะปัจจัยหนึ่งของอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่ก็มีประเด็นยุ่งยากทางการแพทย์และกฎหมายโผล่ขึ้นมาแล้วว่า ควรห้ามผู้มีอาการดังกล่าวขับรถหรือไม่

ประเด็นเหล่านั้นก็ได้แก่แพทย์ควรทำอย่างไร หากทราบว่าคนไข้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มารับการบำบัดแล้ว

อาการไม่ดีขึ้นนั้น ไม่ยอมแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ควบคุม เพื่อขออนุญาตขับขี่ยานพาหนะทราบความจริง และยังคงขับรถอยู่ต่อไป

ทีมของ ดร.ฟินด์ลีย์ เห็นใจคนไข้ประเภทนี้ แต่ก็จำต้องยึดมั่นในหลักการ พวกเขาบันทึกว่า

“ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งผล็อยหลับขณะขับรถ ไม่ควรขับอีก เพราะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น

อาจทำให้คนขับอื่นๆ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้”

ผลการศึกษาที่รัฐเวอร์จิเนียได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

กลายเป็นประเด็นที่นำไปเขียนหรือพูดถึงในหนังสือ หรือวารสารทางการแพทย์และพฤติกรรมศาสตร์

เช่นเดียวกับในสื่อของสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทประกันภัยในสหรัฐให้ความสนใจมากทีเดียว

และเพราะการศึกษาที่รัฐเวอร์จิเนีย ผลการศึกษาของทีมอื่น อีกหลายครั้งจึงได้ผลสรุปแบบเดียวกัน

เช่น การศึกษาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน พบว่าผู้มีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ “มีโอกาสชนรถคันอื่นมากกว่าคนที่นอนหลับเป็นปกติมากกว่า 7 เท่า”

แปลกดี เราคิดว่าการหลับเป็นหนึ่งในพฤติกรรมมีความสุขที่สุดของมนุษย์ทุกคน ไม่เป็นภัย และไร้อันตราย

แต่ไม่ใช่หลับขณะขับรถ

Cr. มหัศจรรย์แห่งมนุษย์