รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

สารเคมีปรับเปลี่ยนอารมณ์ได้อย่างไร

อาหารมีผลต่ออารมณ์ของคุณ อาหารบางอย่างสามารถทำให้คุณรู้สึกดีและรู้สึกสงบลงได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังได้รับยาที่มีผลทำให้อารมณ์รุนแรงได้ ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องอาหารกับอารมณ์ โดยกล่าวถึงสารเคมีบางอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยกระตุ้นอารมณ์ กล่าวถึงการทำงานของสารเคมี และกลยุทธ์บางอย่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารเคมีเหล่านั้น

อารมณ์เป็นความรู้สึก สภาวะทางอารมณ์มีผลต่อวิธีการมองโลกของคุณ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วหลังจากที่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการ อารมณ์ของคุณจะกลับคืนสู่ปกติในไม่ช้า หลุดพ้นจากความเครียดและฟื้นจากอาการโศกเศร้า และชีวิตกลับคืนสู่ภาพปกติแต่ในบางครั้ง อารมณ์ของคุณอาจควบคุมไม่อยู่

ความสุขจากชัยชนะของทีมกีฬาที่คุณชื่นชอบ อาจเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่คุณพบว่าตัวเองต้องวิ่งเข้าร้านโน้นออกร้านนี้เพื่อซื้อของที่คุณไม่มีเงินพอจับจ่าย หรือความโศกเศร้าที่โครงการของคุณไม่ประสบความสำเร็จ อาจจมลึกในก้นบึ้งของจิตใจจนขโมยเอาความสุขของคุณไปจนหมด

สภาวะเหล่านี้คือ อารมณ์ที่ควบคุมไม่อยู่ หรือที่เรียกว่า ความแปรปรวนทางอารมณ์ประมาณ 1 ใน 4 คน (ผู้หญิงมักจะมากกว่าผู้ชาย) มักจะเคยมีประสบการณ์กับความแปรปรวนทางอารมณ์บ้าง

และประมาณ 8-9 คนจากทุกๆ100 คน เคยมีความแปรปรวนทางอารมณ์ที่ต้องเข้ารับการรักษาเนื่องจากความแปรปรวนทางอารมณ์เป็นอาการที่มีความรุนแรงพอจนถือว่าเป็นโรคอย่างหนึ่งได้

อารมณ์ทั่วไปที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ความสุขและความเศร้า ความแปรปรวนทางอารมณ์ที่พบบ่อยที่สุด 2 โรค คือ โรคซึมเศร้า ซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าอยู่เป็นเวลานาน

และโรคมาเนีย (อาการกระตือรือร้นอย่างมากเกินปกติ)ซึ่งเป็นความตื่นเต้นดีใจมากและเป็นอยู่เป็นเวลานาน บางคนเป็นโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจเป็นโรคซึมเศร้าสลับกับอาการดีใจตื่นเต้น

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารเคมีในสมองซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติอันมีผลต่ออารมณ์เละทำให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์โดยเป็นสารนิวโรทรานสมิทเตอร์ (ทำให้เซลล์สมองส่งข้อมูลกลับไปกลับมา) ที่สำคัญ 3 ชนิดในร่างกาย คือ

โดปามีน นอร์เอปิเนฟริน และเซโรโทนินโดยที่โดปามีนและนอร์เอปิเนฟรินเป็นสารเคมีที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวและมีพลังงาน ส่วนสารเชโรโทนินจะทำให้ร่างกายรู้สึกสบายเเละสงบอาการซึมเศร้าและอาการดีอกดีใจบางรูปแบบ ทำให้ความสามารถในการจัดการกับสารเคมีเหล่านี้บกพร่องไป

ยาต้านอาการซึมเศร้าจะปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ด้วยการทำให้สารนิวโรทรานสมิทเตอร์ถูกส่งไปยังสมองมากขึ้น และทำให้สมองสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งยาที่ใช้ในการบำบัดความแปรปรวนทางอารมณ์ ได้แก่

  • tricyclic antidepressants: ยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดนี้ จะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าโดยไปเพิ่มสารเซโรโทนินในร่างกาย
    .
  • selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs): ยาเหล่านี้จะไม่ชะลอการดูดซึมสารเซโรโทนินเพื่อให้สารนี้มีอยู่ในสมองมากขึ้น ยานี้มีผลกระทบข้างเคียงน้อยกว่ายาต้านอาการซึมเศร้าชนิดแรก SSRIS ที่รักกันดี 2 ชนิดคือ fluoxetine (Prozac) และparoxetin (Paxil)
    .
  • monoamine oxidase inhibitors (MAO inhibitors): ยาชนิดนี้จะไปชะลอการทำลายสารโดปามีนและนิวโรทรานสมิทเตอร์อื่นๆ ตามธรรมชาติ เพื่อให้สารเหล่านี้คงอยู่ในสมองมากเพียงพอ MAO inhibitors ที่รู้จักกันดีได้แก่ pheneizine (Nazri) และ trancylpromin (Parnate)
    .
  • lithium: การทำงานที่แท้จริงของลิเทียมไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจทำให้สารเซโรโทนินในสมองเพิ่มมากขึ้น และลดนอร์เอปิเนฟรินลง
    .
  • ยาอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า ยาบางอย่างควบคุมปริมาณสารเซโรโทนิน ยาบางชนิดให้ผลในการบำบัด แต่ยังไม่เป็นที่ระบุชัด ซึ่งยาในกลุ่มนี้ได้แก่ bypropion (Wellbutrin, Zyban) และ sertraline (Zoloft)

Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น