รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

Thai RDI

ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intakes (DRIs) ) ซึ่งจัดทำโดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดปริมาณสารอาหาร และแนวทางการบริโภคของคนไทย

จากข้อมูลอ้างอิงจากต่างประเทศ และประยุกต์ให้เข้ากับคนไทยโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยค่า DRIs นั้นเป็นปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน ที่ใช้กำหนดแผนและอาหารสำหรับคนปกติ ที่มีสุขภาพดีเพื่อป้องกันโรคและหลีกเลี่ยงการได้รับสารอาหารมากเกินไป ข้อมูลอ้างอิงสำหรับการกำหนดปริมาณสารอาหารของคนไทย มีดังนี้

  • ค่าปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน : DRI ( The Dietary Reference Intakes concept)
    .
  • ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน : RDA (Recommended Dietary Allowance )
    .
  • ค่าประมาณของความต้องการสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน : EAR (Estimated Average Requirement)
    .
  • ปริมาณสารอาหารที่พอเพียงในแต่ละวัน : AI (Adequate Intake)
    .
  • ปริมาณสูงสุดของสารอาหารที่รับได้ในแต่ละวัน : UL (Toterable Upper Intake Level)

.

คณะกรรมการอาหารและยา ได้กำหนดขนาดการได้รับสารอาหาร ที่ต้องระบุไว้บนฉลาก โภชนาการ เป็นค่าประมาณสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ดังนี้

การคำนวณขนาดต่อวันของวิตามิน

การคำนวณขนาดต่อวัน ให้ใช้ขนาดต่อวันที่แจ้งไว้บนฉลาก และใช้ค่า Thai RDI และ USRDA ตามตาราง 1 และ 2

ตาราง 1 ค่าสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes – Thai RDI) จัดทำโดย คณะอนุกรรมการพิจารณาการแสดง คุณค่าทางโภชนาการบนฉลากของอาหาร 2538

สารอาหาร ปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI)
Fat-soluble vitamins  
Vitamin A 800 µg RE* (2,664 IU)
Vitamin D 5 µg (200 IU)
Vitamin E 10 mgα – TE** (15 IU)
Vitamin K 80 µg
Water-soluble vitamins  
Vitamin B1 (Thiamin) 1.5 mg
Vitamin B2 (Riboflavin) 1.7 mg
Niacin 20 mg
Vitamin B6 2 mg
Folic acid 200 µg
Pantothenic acid 6 mg
Biotin 150 µg
Vitamin B12 2 µg
Vitamin C 60 mg
Electrolytes & Minerals  
Sodium 2,400 mg
Potassium 3,500mg
Chloride 3,400 mg
Calcium 800 mg
Phosphorus 800 mg
Magnesium 350 mg
Iron 15 mg
Trace minerals  
Zinc 15 mg
Copper 2 mg
Manganese 3.5 mg
Fluoride 2 mg
lodine 150 µg
Selenium 70 µg
Molybdenum 160 µg
Chromium 130 µg

หมายเหตุ * RE = Retinol equivalent; 1 RE = 1 µg retinol

** α – TE = α – Tocopherol equivalent; 1α – E = 1 mg D-α-tocopherol

ตาราง 2 ค่า The United States Recommended Dietary Allowance ( U.S. RDA) ของเด็กอายุ 1-3 ปี และอายุ 6-12 เดือน

สารอาหาร ปริมาณที่แนะนำต่อวัน (US RDA)
อายุ 1-3 ปี อายุ 6-12 เดือน
Fat-soluble vitamins    
Vitamin A 1,332IU 1,250IU
Vitamin D 200IU 200IU
Vitamin E 9IU 6IU
Vitamin K 15µg 10µg
Water – soluble vitamins    
Vitamin B1 (Thiamin) 0.5mg 0.3mg
Vitamin B2 (Riboflavin) 0.5mg 0.4mg
Niacin 6mg 3mg
Vitamin B6 0.5mg 0.3mg
Folic acid 150µg 80µg
Pantothenic acid 2mg 1.8mg
Biotin 8µg 6µg
Vitamin B12 0.9µg 0.5µg
Vitamin C 40mg 35mg
Choline 200mg 150mg
Minerals    
Calcium 500mg 270mg
Phosphorus 460mg 275mg
Magnesium 80mg 75mg
Iron 10mg 10mg
Trace minerals    
Zinc 10mg 5mg
Copper* 0.85mg 0.65mg
Manganese* 1.25mg 0.8mg
lodine 70µg 50µg
Selenium 20µg 15µg
Molybdenum* 38µg 30µg
Chromium* 50µg 40µg

หมายเหตุ

US RDA 1989

US DRI 1997 (DRI = Dietary Refence Intakes, เป็น latest revision ของ RDA)

US DRI 1998 (DRI = Dietary Refence Intakes, เป็น latest revision ของ RDA)

*ค่า RDA ใช้ค่ากลางของ range

คำอธิบายศัพท์

วิตามินที่จำเป็น : วิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ในปริมาณที่เพียงพอ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารมี 13 ชนิด คือ

Fat-soluble vitamins

1. Vitamin A

2. Vitamin D

3. Vitamin E

4. Vitamin K

Water-soluble vitamins

5. Vitamin B1 (Thiamin)

6. Vitamin B2 (Riboflavin)

7. Niacin

8. Vitamin B6

9. Folic acid

10. Pantothenic acid

11. Biotin

12.Vitamin B12

13. Vitamin C

กรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acids) : กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ในปริมาณที่เพียงพอ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร มี 8 ชนิด คือ

1. Isoleucine

2. Leucine

3. Lysine

4. Methionine

5. Phenylalanine

6. Threonine

7. Tryptophan

8. Valline

ยกเว้น ทารกแรกเกิด กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด คือ กรดอะมิโน 8 ชนิดข้างต้น และ Histidine

Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น