รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

การกินยากับความอยากอาหาร

การกินยาอาจทำให้ความอยากกินอาหารมีมากขึ้น (หรือน้อยลง) ยาบางอย่างที่ใช้รักษาอาการของโรคทั่วไป อาจมีผลต่อความอยากอาหาร

มื่อมีการใช้ยา คุณจะพบว่าตัวเองกินอาหารได้มากขึ้น(หรือน้อยลง) กว่าปกติ ผลกระทบนี้มักไม่ค่อยได้กล่าวถึง เมื่อแพทย์สั่งยาให้บางทีอาจเป็นเพราะยา ไม่ได้ไปรบกวนอะไรมากนัก และผลกระทบนั้นจะหายไปเองเมื่อหยุดใช้ยา

ซึ่งยาที่ช่วยเพิ่มความอยากอาหาร ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้า (ยาปรับระดับอารมณ์) ยาแอนตี้ฮิสตามีน (ยาแก้เเพ้) ยาขับปัสสาวะ (สารเคมีที่ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น และขับปัสสาวะออกจากร่างกายมากขึ้น) ยาระงับประสาท (ยาคลายกังวล) เป็นต้น

ส่วนกลุ่มยาที่ทำให้ความอยากอาหารลดลง ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านมะเร็ง ยาลดคอเลสเตอรอล ยาแก้เชื้อรา ยาแก้โรคพาร์กินสัน ยาต้านลมชัก ยาลดความดันเลือด ยาลดความอ้วน ฯลฯ

แต่ไม่ใช่ว่ายาทุกชนิดจะมีผลต่อความอยากอาหาร

ยกตัวอย่างเช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า amitriptylin (Elavil)จะไปเพิ่มความอยากกินอาหาร และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่ยาต้านอาการซึมเศร้า fluoxetin (Prozac) ไม่ได้ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

ผลกระทบจากการใช้ยาที่มีต่อความอยากอาหาร ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยา แต่การทราบและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการใช้ยาและความอยากอาหารก็นับว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์

คุณควรจะถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาและปฏิกิริยาของยาที่มีต่อความอยากอาหาร ถ้ายาชนิดใดไม่มีใบกำกับยา ก็ควรจะขอให้เภสัชกรเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นให้ และควรอ่านใบกำกับยาเพื่อจะทราบข้อมูลที่สำคัญ เช่น คำแนะนำการใช้ยา หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า ขับรถ หรือทำงานที่ต้องเกี่ยวกับเครื่องจักร เป็นต้น

Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น