รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

ประโยชน์ของ RESVERATROL

59-05-14-resveratol-2

สรุปผลการวิจัยทางคลินิกเด่นๆ รวมทั้งการศึกษาจาก ม.ฮาวาร์ด

 1. ชะลอความแก่ชรา ดูอ่อนเยาว์ (Anti-aging) 

เรสเวอราทอล ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ SIRT1 (SIRT1 เป็นเอนไซม์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งมีชีวิตมีอายุที่ยืนยาวขึ้น) ด้วยปรับกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย 

ปี  2003  นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลอง เรสเวอราทอลสามารถยืดอายุขัยของยีสต์ ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวได้ถึง  70%  ซึ่งมีกลไกเดียวกับการยืดอายุของชีวิตมนุษย์  ต่อมาจึงมีการทดลองในสัตว์ชนิดอื่นๆ   เช่น หนอน และปลาที่มีกระดูกสันหลัง พบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน

 

ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

นายเดวิด ซินแคลร์ ศาสตราจารย์ด้านพันธุกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยว่า สารเรสเวอราทรอลที่สกัดจากองุ่น จะเข้าไปทำงานกับโปรตีน SIRT 1 ซึ่งเป็นเอนไซม์ชะลอวัยที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมนุษย์ เอมไซม์ตัวนี้จะเข้ามาขัดขวางขัดขวางโรคภัยที่มาพร้อมวัยของมนุษย์ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ พร้อมทั้งช่วยชะลอวัยและทำให้อายุขัยยืนยาวขึ้น

จากการทดสอบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ พบว่า สารเรสเวอราทรอล สามารถช่วยให้สุขภาพผู้ป่วยดีขึ้น และไม่เพียงเท่านั้น ศาสตราจาย์เดวิด ยังให้ข้อมูลว่า สารเรสเวอราทอล สามารถช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ได้อีกหลายโรคด้วย

 

59-05-14-resveratol-62. ต้านสารอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) 

เรสเวอราทอล มีพลังในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามิน C, วิตามิน E และ กลูตาไทโอน หลาย 1000 เท่า ทำให้มีสุขภาพดีขึ้น ผิวพรรณสดใส ด้วยช่วยการกำจัดสารพิษต่างๆ ในร่างกาย และยังช่วยชะลอการเสื่อมสลายของคอลลาเจน โดยช่วยยับยั้ง MMPs เอนไซม์ ที่ตัดย่อยคอลลาเจน ส่งผลให้ดูอ่อนวัยมากขึ้น

 

3. ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ (Cardiovascular Prevention) 

เรสเวอราทอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจาก สามารถเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด โดยลดโคเลสเตอรอล, ลดแอลดีแอล (LDL-ไขมันไม่ดี) และเพิ่ม เอชดีแอล (HDL-ไขมันดี) และยังป้องกันไม่ให้เลือดเกาะเป็นก้อน ลดความเลี่ยงการอุดตันในเส้นเลือด จึงทำให้ลดความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจได้

ปี  2007  มีการทดลองให้หนูกินอาหารแคลอรี่สูงกว่าปกติ 30%   และแบ่งหนูทดลองออกเป็น  2  กลุ่ม  โดยกลุ่มหนึ่งกินอาหารแคลอรี่สูงอย่างเดียว  ส่วนหนูอีกกลุ่มหนึ่งกินอาหารแคลอรี่สูง  และ ได้รับเรสเวอราทอล วันละ  22 mg. ร่วมด้วย  ผลปรากฏว่าหนูกลุ่มที่กิน เรสเวอราทอล ร่วมด้วย  มีอัตราการตายจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดน้อยกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารแคลอรี่สูงถึง  30%

การวิจัยจากประเทศสเปน

นักวิจัยจากประเทศสเปน ได้มีการทำการวิจัยในคนเป็นเวลานานที่สุด กับ สารเรสเวอราทอล การวิจัยศึกษาแบบ Triple – blinded control ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ 75 คน โดยการแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก ให้รับประทาน rerveratrol 8 mg

กลุ่มที่สอง ให้ทานยาหลอก (maltodextrin)

กลุ่มที่สาม ให้ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากองุ่นแต่ไม่มีส่วนผสมของเรสเวอราทอล เป็นเวลา 6 เดือน และเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่าในอีก 6 เดือนต่อมา

59-05-14-resveratol-5ผลการวิจัย พบว่าเฉพาะกลุ่มที่รับประทานเรสเวอราทอล ช่วยลดระดับ c-reactive protein (CRP) Tumor necrosis factor ∝, PAI1 (Plasminogen activator inhibitor type 1) และเพิ่ม interleukin-10 ซึ่งต้านการอักเสบ จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้ป่วยที่รับประทานได้

จากการศึกษายังพบอีกว่า เรสเวอราทอล ทำงานให้ผลคล้ายคลึงกับยา Statin ซึ่งเป็นยาลดคลอเรสเตอรอล และการรับประทาน เรสเวอราทอล ควบคู่กับ Pravastatin ให้ผลดีกว่าทานยา Statin เพียงอย่างเดียว

 

4. ป้องกันมะเร็ง (Cancer Prevention) 

เรสเวอราทอล สามารถยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็งในคนได้ โดย ช่วยหยุดยั้งการกระจายของเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์ร้ายตายไปในที่สุด เรียกว่า อะพ็อพโตซิส และไม่เป็นพิษในเซลล์ปกติ ทำให้ปลอดภัยต่อมนุษย์

การวิจัยในประเทศไทย

จากการศึกษาวิจัย (นภาพร แก้วดวงดี, 2547) ได้นำสารเรสเวอราทรอล มาทำการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษของเรสเวอราทรอลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีที่พบในประเทศไทย คือ มะเร็งท่อน้ำดี KKU-100 โดยวิธี SRB assay พบว่า เรสเวอราทรอลสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี KKU-100 โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.74?0.21 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งจะแปรตามความเข้มข้นของสาร เมื่อเทียบกับเซลล์ปกติจะมีค่า IC50 เท่ากับ 16.29?2.69 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร

นอกจากนี้ยังพบว่า “เรสเวอราทรอล” ยังช่วยยับยั้งวัฏจักรของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี (cell cycle arrest) ได้ และยังสามารถชักนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งและหยุดยั้งการกระจายจนตายไปในที่สุดที่เรียกว่า “อะพ็อพโตซิส” ซึ่งเป็นการวิจัยครั้งแรกที่ค้นพบในประเทศไทย

ในการศึกษาครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และได้รับการสนับสนุนทางเครื่องมือจากคณะแพทย์ศิริราชพยาบาลและ Prof. Dr. Anirban Maitra ณ มหาวิทยาลัย Johns Hopkins สหรัฐอเมริกา

Reference: Oregon State University

Linus Pauling Institute (Micronutrient Research for Optimum Health)

Click link   http://lpi.oregonstate.edu/infocenter/phytochemicals/resveratrol/

 59-05-14-resveratol-4

5. ปรับสมดุลร่างกาย  (Balance your life) 

เรสเวอราทอล ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ SIRT 1 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีอายุที่ยีนยาวขึ้น โดยปรับสมดุลในร่างกาย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคอัลไซล์เมอร์, โรคตับ, โรคหัวใจ, โรคปอด, การอักเสบของลำไส้

Reference:

1. Heilbronn LK, Ravussin E. Calorie restriction and aging: review of the literature and implications for studies in humans. Am J Clin Nutr. 2003;78(3):361-369. (PubMed)

2. Baur JA, Pearson KJ, Price NL, et al. RESVERATROL improves health and survival of mice on a high-calorie diet. Nature. 2006;444(7117):337-342. (PubMed)

3. Valenzano DR, Terzibasi E, Genade T, Cattaneo A, Domenici L, Cellerino A. RESVERATROL prolongs lifespan and retards the onset of age-related markers in a short-lived vertebrate. Curr Biol. 2006;16(3):296-300. (PubMed)

4. Stojanovic S, Sprinz H, Brede O. Efficiency and mechanism of the antioxidant action of trans-RESVERATROL and its analogues in the radical liposome oxidation. Arch Biochem Biophys. 2001;391(1):79-89. (PubMed)

5. Brito P, Almeida LM, Dinis TC. The interaction of RESVERATROL with ferrylmyoglobin and peroxynitrite; protection against LDL oxidation. Free Radic Res. 2002;36(6):621-631. (PubMed)

6. Frankel EN, Waterhouse AL, Kinsella JE. Inhibition of human LDL oxidation by RESVERATROL. Lancet. 1993;341(8852):1103-1104. (PubMed)

7. Bradamante S, Barenghi L, Villa A. Cardiovascular protective effects of RESVERATROL. Cardiovasc Drug Rev. 2004;22(3):169-188. (PubMed)

8. Fulda S, Debatin KM. RESVERATROL modulation of signal transduction in apoptosis and cell survival: a mini-review. Cancer Detect Prev. 2006;30(3):217-223. (PubMed)

9. De Curtis A, Murzilli S, Di Castelnuovo A, et al. Alcohol-free red wine prevents arterial thrombosis in dietary-induced hypercholesterolemic rats: experimental support for the ‘French paradox’. J Thromb Haemost. 2005;3(2):346-350. (PubMed)

10.Jang M, Cai L, Udeani GO, et al. Cancer chemopreventive activity of RESVERATROL, a natural product derived from grapes. Science. 1997;275(5297):218-220. (PubMed)

11. http://www.health.harvard.edu/blog/RESVERATROL-the-hype-continues-201202034189

 

แหล่งที่มาของ Resveratrol

1. จากอาหารทั่วไป (Food Source)

สารเรสเวอราทอล พบได้ที่องุ่น, น้ำองุ่น, ไวน์, ถั่วลิสง, ต้นหม่อน, ใบชา และผลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่

เรสเวอราทอล จะพบที่ผิวองุ่นสูงมาก โดยผิวขององุ่นแดง จะมีปริมาณเรสเวอราทอลมากกว่าผิวองุ่นขาว โดยไวน์แดง 1 ขวดจะมีปริมาณเรสเวอราทอล ประมาณ 1-5 mg เท่านั้น!!!

59-05-14-resveratol-3

2. จากอาหารเสริม (Supplement)

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัด เรสเวอราทอล เป็นส่วนประกอบที่ได้จากสารสกัดจากไวน์แดง และสารสกัดจากเปลือกองุ่นแดง ซึ่งจะประกอบไปด้วย เรสเวอราทอล และ โพลีฟีนอล ร่วมกัน โดยปกติจะมีเรสเวอราทอล ปริมาณ 10-50 mg 

 

Reference

1.Romero-Perez AI, Ibern-Gomez M, Lamuela-Raventos RM, de La Torre-Boronat MC. Piceid, the major resveratrol derivative in grape juices. J Agric Food Chem. 1999;47(4):1533-1536. (PubMed)

2.Moreno-Labanda JF, Mallavia R, Perez-Fons L, Lizama V, Saura D, Micol V. Determination of piceid and resveratrol in Spanish wines deriving from Monastrell (Vitis vinifera L.) grape variety. J Agric Food Chem. 2004;52(17):5396-5403. (PubMed)

3. Romero-Perez AI, Lamuela-Raventos RM, Waterhouse AL, de la Torre-Boronat MC. Levels of cis- and trans-resveratrol and their glucosides in white and rosé Vitis vinifera wines from Spain. J Agric Food Chem. 1996;44(8):2124-2128.

4. Burns J, Yokota T, Ashihara H, Lean ME, Crozier A. Plant foods and herbal sources of resveratrol. J Agric Food Chem. 2002;50(11):3337-3340. (PubMed)

5. Sanders TH, McMichael RW, Jr., Hendrix KW. Occurrence of resveratrol in edible peanuts. J Agric Food Chem. 2000;48(4):1243-1246. (PubMed)

6.Sobolev VS, Cole RJ. trans-resveratrol content in commercial peanuts and peanut products. J Agric Food Chem. 1999;47(4):1435-1439. (PubMed)