รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

ความต้องการโปรตีน

การคำนวณปริมาณโปรตีน

กฎข้อแรกคือ คนที่มีสุขภาพแข็งแรงจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากโปรตีน 10 – 35%

กฎข้อที่สองคือ ผู้ใหญ่ชายและหญิงที่มีสุขภาพร่างกายโดยทั่วไปแข็งแรง จำเป็นต้องได้รับโปรตีนคุณภาพสูง 0.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. (2.2 ปอนด์) หรือน้อยกว่า 0.4 กรัมเล็กน้อยต่อน้ำหนักตัวทุกๆ 1 ปอนด์

เช่น ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัว 138 ปอนด์ ต้องการโปรตีนวันละ 50 กรัม ผู้ชายที่มีน้ำหนักตัว 175 ปอนด์ ต้องการโปรตีนวันละ 63 กรัม ซึ่งร่างกายสามารถได้รับจากการกินเนื้อไม่ติดมัน เนื้อปลา หรือเนื้อไก่  2 -3 มื้อ ๆ ละ 3 ออนซ์ (โปรตีนมื้อละ 21 กรัม)

และถ้าผู้หญิงคนนั้นเป็นมังสวิรัติ เธอจะสามารถได้รับสารอาหารโปรตีนจากไข่ 2 ฟอง (12 -16 กรัม) ชีสปราศจากไขมัน 2 แผ่น (10 กรัม) ขนมปัง 4 แผ่น (แผ่นละ 3 กรัม) และโยเกิร์ต 1 ถ้วย (10 กรัม)

ความต้องการโปรตีน

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดปริมาณโปรตีนอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ ดังนี้

อายุ น้ำหนักตัว
(กิโลกรัม)
โปรตีน
*กรัม/น้ำหนักตัว
1 กก./วัน
โปรตีน
กรัม/วัน
(%ของพลังงาน
ทั้งหมด)
ทารก  0-5 เดือน+
            0-6 เดือน+
5
8
น้ำนมแม่
1.9
น้ำนมแม่
15 (7.5)
เด็ก     1-3 ปี++
           4-5 ปี
           6-8 ปี
13
18
23
1.4
1.2
1.2
18 (7.2)
22 (7.04)
28 (6)
วัยรุ่น
– ผู้ชาย     9-12 ปี
                 13-15 ปี
                 16-18 ปี
– ผู้หญิง    9-12 ปี
                 13-15 ปี
                 16-18 ปี
33
49
57
34
46
48
1.2
1.1
1.2
1.2
1.2
1.2
40(9.4)
58(11.3)
63(11.2)
41(10.3)
55(12.2)
53(11.5)
ผู้ใหญ่ 
– ผู้ชาย     19-30 ปี
                 31-50 ปี
                 51-70 ปี
                 >70 ปี
– ผู้หญิง  19-30 ปี
                31-50 ปี
                51-70 ปี
                >70 ปี
57
57
57
57
52
52
52
52
1.0
1.0
1.0
1.0
1.0
1.0
1.0
1.0
57 (10.6)
57(10.9)
57(10.9)
57(10.9)
52(10.9)
52(11.9)
52(11.9)
52(11.9)
หญิงตั้งครรภ์
– ไตรมาสที่ 1 
– ไตรมาสที่ 2
– ไตรมาสที่ 3 
+25
+25
+25
หญิงให้นมบุตร   0-5 เดือน
                            6-11 เดือน
+25
+25

Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น