รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

สารอาหารกับยา

กลางปี ค.ศ.1990 นักวิจัยได้ศึกษาผลกระทบของน้ำองุ่น ต่อยาความดันเลือด felodipene(Plendil) โดยพบว่าถ้ากินยาร่วมกับน้ำองุ่น ร่างกายจะเผาผลาญอาหารได้น้อยลง และความสามารถ ในการกำจัดยาบางอย่างออกจากร่างกายลดลง ทำให้มีปริมาณยาอยู่ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงตามมา

ยาขับปัสสาวะจะทำให้ร่างกายมีการขับปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ทำให้ธาตุโปตัสเซียมถูกกำจัดออกจากร่างกายมากขึ้น และเพื่อเป็นการชดเชยโปตัสเซียมที่ร่างกายสูญเสียไป ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เพิ่ม มันฝรั่ง กล้วย ส้ม ผักขม ข้าวโพด และมะเขือเทศในอาหาร กินเกลือให้น้อยลง

เมื่อมีการใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการสูญเสียธาตุโปตัสเซียม ยาเม็ดคุมกำเนิด จะลดการดูดซึมวิตามินบีและโฟเลท

การกินยาแอสไพรินมากๆ หรือยาแก้อักเสบที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ อย่างเช่น ibuprofen จะทำให้ไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ทำให้สูญเสียเลือดจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้เกิดโรคเลือดจางเนื่องจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก

การใช้ยาลดกรด ที่มีส่วนประกอบของอลูมินั่มเป็นเวลานานๆ ทำให้ร่างกายสูญเสียธาตุฟอสฟอรัสที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกระดูก ฟอสฟอรัสจะไปจับกับอลูมินั่มและถูกขับออกจากร่างกาย การใช้ยาระบายก็มีผลทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุ (แคลเซียม และอื่น) ซึ่งขับออกมากับอุจจาระ

ยาเเก้แผลเน่าเปื่อย cimetadine (Tagamet) และ ranitidine (Zantac) อาจทำให้คุณมีอาการเวียนหัวได้ ยาเหล่านี้จะไปลดกรดในกระเพาะอาหาร นั่นหมายความว่าร่างกายจะสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดีขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญได้ทดลองใช้ยาแก้แผลเปื่อยร่วมกับแอลกอฮอล์ ผลก็คือ ยาจะมีผลทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นเป็นสองเท่า

กล่าวคือ ถ้าดื่มเบียร์ 1 ขวด ก็เหมือนกับว่าได้ดื่มไป 2 ขวด ดังนั้น ก่อนกินยาจึงควรอ่านฉลาก หรือปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงผลกระทบและปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกาย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

Cr. คู่มือโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น