รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeศาสตร์ชะลอวัย Anti-aging

6 กลุ่ม โภชนเภสัชภัณฑ์กับการลดเลือนริ้วรอย ผิวสวยใส มีออร่า

จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พบว่า
การรับประทานอาหาร ที่เป็นแหล่งของ
สารต้านอนุมูลอิสระ

สามารถช่วยในการชะลอความชราของผิวพรรณได้
โดยจากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์

พบว่า
สารอาหารและสารพฤษเคมี

ที่มีศักยภาพในการชะลอความชราทางด้านผิวพรรณ ได้แก่

1.วิตามินซี และวิตามินอี (Vitamin C&E)

– พบมากในผัก ผลไม้ต่างๆ

– ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดเลือนริ้วรอย

– จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า วิตามินซีและอี
มีฤทธิ์ในการป้องกัน
รังสียูวีจากแสงแดด (Photo-protective effect)
จึงช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัยได้

2.ซีลีเนียม (Selenium)

– พบมากในอาหารทะเล

– ข้าวกล้อง

– หัวหอม

– กระเทียม

– เป็น Co-factor ของกลูต้าไธโอน และ Anti-oxidant Enzyme

อีกทั้งยังทำงานร่วมกันกับวิตามินอี
ในการต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเซลล์ผิว

3.สังกะสี (Zinc)

– พบมากในอาหารทะเล ไข่ ถั่วลิสง

– เป็น Co-factor ของ Anti-oxidant Enzyme
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว

4.โค-คิวเทน (Co-Q10)

– พบมากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์

– เมื่อร่างกายอายุเพิ่มขึ้นระดับ Co-Q10 จะลดลง

– ช่วยต้านอนุมูลอิสระและสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ

– ช่วยในการทำงานของวิตามินอี
เสมือนเสริมฤทธิ์วิตามินอี จึงช่วยป้องกันริ้วรอยแห่งวัย

– ปริมาณที่แนะนำ 30-100 มก./วัน

5.คาร์โรทีนอยด์ (Carotenoid)

มี 3 ตัวหลักที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพผิว ได้แก่

1) เบต้า-แคโรทีน (β-Carotene) พบมากในมะละกอ แครอท มะม่วง

– มีฤทธิ์ในการต้านแดด ป้องกัน Sunburn (เสมือนกันแดดแบบกิน)

– การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคเบต้า-แคโรทีนวันละ 30 มก.

ช่วยป้องกันการแก่ชราของผิว และฟื้นฟูผิวจากการโดนแสงแดดทำร้าย

2) ไลโคปีน (Lycopene) พบมากในมะเขือเทศ ฟักข้าว แตงโม

– ช่วยชะลอความชราด้านผิวพรรณ ป้องกันริ้วรอย

– ปกติในธรรมชาติไลโคปีนจะอยู่ในรูป Trans – isomer (สายตรงยาว)
แต่เมื่อผ่านความร้อน กระบวนการผลิตหรือปรุงประกอบ
จะทำให้ไลโคปีนอยู่ในรูป Cis-isomer (สายโค้งงอ)

ซึ่งร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่า Trans – isomer
ดังนั้นการบริโภคมะเขือเทศ
ที่ผ่านความร้อนหรือกระบวนการการผลิต

เช่น ในผัดเปรี้ยวหวานในซอสมะเขือเทศ
ในซุปมะเขือเทศ
ก็จะทำให้ร่างกายได้รับไลโคปีืนในปริมาณเพิ่มขึ้น

-ปริมาณที่แนะนำ คือ 15 มก./วัน
เทียบเท่า มะเขือเทศผลใหญ่ประมาณ  4 ลูก หรือผลเล็ก 15 ลูก แตงโม 10-15 ชิ้นคำ

3) แอสตาแซนทีน (Astaxanthin) พบมากในสาหร่ายสีแดง ปลาแซลมอน

– มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง จนได้รับฉายาว่า

“King of Anti-oxidant”

การศึกษาวิจัยในหลอดทดลองพบว่า
แอสตาแซนทีนมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่า..

วิตามินซี 6,000 เท่า

วิตามินอี 550 เท่า

โคเอนไซม์ คิวเทน 800 เท่า

คาเทชิน (สารสกัดจากชาเขียว) 550 เท่า

อัลฟ่า-ลิโปอิก แอซิด 75 เท่า

เบต้า-แคโรทีน 40 เท่า

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า

– การศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่า
การรับประทานแอสตาแซนทีนเสริม
ปริมาณ 4 มก./วัน เป็นเวลา 3 เดือน

ทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น โดยช่วยลดความแห้งกร้าน

เพิ่มความความชุ่มชื้น เรียบเนียน และยืดหยุ่น

รวมทั้ง ริ้วรอยเล็กๆ ลดลง

6.ไอโซฟลาโวน (Isoflavone)

– พบมากในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์
เช่น เต้าหู้ นมถั่วหลือง
นอกจากนี้ยังพบมากในน้ำมะพร้าว และทับทิม

– มีคุณสมบัติเป็นไฟโตรเอสโตรเจน (Phytoestrogen)
ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

เนื่องจากออกฤทธิ์น้อยกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน 400-1,000 เท่า
และจับกับตัวรับ (Receptor)เฉพาะที่เซลล์ผิว
กระดูก ระบบหัวใจและหลอดเลือด

จึงไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

– ชะลอความชราด้านผิวพรรณ
โดยป้องกันการเสื่อมสลายของคอลลาเจน
และกระตุ้นกระบวนการ Fibroblast proliferation
ทำให้การสังเคราะห์คอลลาเจนที่เซลล์ผิวเพิ่มขึ้น

– การศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่า
การรับประทานไอโซฟลาโวนเสริม
ปริมาณ 40 มก./วัน
ช่วยให้ผิวเรียบเนียน เปล่งปลั่ง ริ้วรอยลดลง