รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeเรื่องเล่าสะกิดสุขภาพ Health Story

ผลการวิจัยช็อคโลก “โทษของเนื้อสัตว์ พลังของอาหารสด”

“ตัวตนของเรา เป็นผลพวงของสิ่งที่เรากิน สิ่งที่เราคิด และสิ่งที่เราทำ”

“อาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนเรา ก็คือ อาหารที่มีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด”

ผลร้ายของการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์จนล้นเหลือ

ก็เพราะว่าในเนื้อสัตว์ มีธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่าแคลเซียม 20-50 เท่า

เมื่อกิน โปรตีน จะกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์

หลั่งฮอร์โมนออกมา ละลายแคลเซียมออกจากกระดูกทุกท่อน

ไปจับอยู่ตามข้อต่าง ๆ แทน

ทำให้กระดูกบางตัวลง และมีหินปูนจับ พอก ตามข้อ

ทีละเล็กทีละน้อย นานปีเข้า ก็กลายเป็นโรคข้อเสื่อม

ที่พบเสมอในผู้สูงอายุ

เนื้อสัตว์ ยังมีไขมันชนิดอิ่มตัว

ที่เป็นต้นเหตุของการ

จับพอกไขมันตามเลือด อย่างที่ทุกท่านรู้กันอยู่

ความเชื่อ เรื่อง

“กินเนื้อ เพื่อสร้างเนื้อหนัง กินข้าว เพื่อสร้างพลังงาน”

ฝังใจผู้คนทั่วโลกมานานหลายสิบปี

จนกระทั่งปี 1866

นักสรีรวิทยา ชาวเยอรมัน เพตตันโคเฟนและวอยท์

ได้ทำวิจัยพบว่าอาหารโปรตีน มิได้ให้พลังได้อย่างรวดเร็ว

อย่างที่เคยเชื่อกันมา ถึงต้นศตวรรษที่ 20

เออร์วิง ฟิสเชอร์ และศ.รัสเซล ชิตเตน เดน

สองนักสรีรวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล

จึงมุ่งมั่นที่จะหาสูตรอาหารที่จะให้พลังงานสูงสุดแก่ร่างกาย

ฟิสเชอร์ทำวิจัยในนักกรีฑา โดยให้อาหารแตกต่างกันหลายชนิด

เขาพบว่านักกรีฑาทุกราย

จะมีร่างกายฟิตเปรี๊ยะที่สุด เมื่อกินอาหารผักสด

ทั้งยังพบว่า นักกรีฑาเหล่านี้ ไม่ต้องกินมากเท่าเมื่อก่อนด้วย

เขาทำวิจัยต่อ ในคนทำงานทั่วไป

เเละในกลุ่มศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยด้วย

เขาเปลี่ยนแปรอาหารหลายชนิด รวมทั้งเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ

งานของเขาพิสูจน์ว่า นักกรีฑาสามารถฝึกซ้อม

จนขึ้นถึงระดับแชมเปี้ยนโลกได้

ด้วยการกินอาหารโปรตีนต่ำ

(เพียงประมาณวันละ 50 กรัม

แทนที่จะต้องกินถึง 120 กรัมตามความเชื่อเก่า)

ชิตเตนเดน หันมาทดลองกับตนเอง

ด้วยความอยากรู้ โดยหันมากินผักล้วนไม่กินเนื้อเลย

เพียงได้โปรตีนจากพืชผัก เขาพบว่าระดับพลังงาน ของเขากลับสูงขึ้น

ทั้งโรคปวดข้อเข่าที่รบกวนเขามา 18 เดือนก็หายไป

เขาหายจากโรคปวดหัว และอาหารไม่ย่อย

ทั้งอยู่ได้ด้วย 1,600 แคลอรี่ โปรตีน 34 กรัม ต่อวัน

ต่อมา ศจ. คาร์ล ไอเมอร์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์

แห่งมหาวิทยาลัยเวียนมาศึกษาต่อจากชิตเตนเดน

เข้าเคี่ยวกรำนักกรีฑาด้วยโปรแกรมการฝึกซ้อมอย่างหนักเป็นเวลา 15 วัน

แล้วเขาก็เปลี่ยนอาหารของนักกรีฑาอย่างทันที ทันควัน

แทนที่นักกรีฑาจะป้อแป้ลงไป นักกรีฑากลับ แข็งแรงขึ้น

ทั้งทำสถิติดีกว่าเดิม

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า

1. อาหารสดให้คุณค่าทางอาหารครบส่วน เนื่องจาก

ไม่ถูกความร้อนทำลายไปในระหว่างการหุงต้ม สารอาหารเหล่านี้ ได้แก่

วิตามิน และโค-แฟกเตอร์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อกระบวนการชีวเคมีในเซลล์

2. อาหารสดช่วยร่างกายขจัดสารเสีย

และพิษที่สะสมอยู่ในเซลล์และอวัยวะต่างๆ

สารเสียเหล่านี้จะคอยรบกวนการทำงานของเซลล์ ที่จะผลิตพลังงาน

3. อาหารสดเพิ่มศักย์ไฟฟ้าให้เซลล์ เพิ่มสมรรถนะของเซลล์

ในการรับออกซิเจนเพื่อเพิ่มพลังงาน ทั้งที่กล้ามเนื้อและเซลล์สมอง

4. อาหารสดที่ส่วนมากเป็นผลไม้ ผัก ธัญพืช มีโปรตีนต่ำและไขมันต่ำ

จึงเป็นผลดีต่อร่างกาย

ไขมันสูงเกินไป จะขัดขวางเนื้อเยื่อร่างกายในการรับออกซิเจน

โปรตีนสูง ทำให้ร่างกายสิ้นเปลืองเกลือแร่ในการเผาผลาญ

ทั้งยังเกิดสารพิษจากกระบวนการเผาผลาญอีกด้วย

อาหารสด มีเกลือโปแตสเซียมในปริมาณสูง

ซึ่งช่วยผนังเซลล์ในการรับสารอาหารเข้าไป

เอปปิงเกอร์ จึงสรุปว่า

“อาหารสดเหมาะสำหรับนักกรีฑา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 48 ชั่วโมงก่อนการแข่งขัน”

อาหารแบบธรรมชาติบำบัด ไม่ใช่ มังสวิรัต

ธรรมชาติบำบัด มิได้ปฏิเสธโปรตีนจากเนื้อสัตว์ 

และก็ไม่ส่งเสริมให้ เรากินข้าวหรือแป้งเป็นอาหารหลักวันละ 3 มื้อ

แต่ธรรมชาติบำบัดชี้ชวนให้จัดสัดส่วนของอาหารเสียใหม่ คือ

ให้เป็นอาหารผักสด ผลไม้ 6 ใน 10 ส่วน

ที่เหลือจึงเป็นอาหารเนื้อ และแป้ง

ส่วนไขมันสัตว์บกพยายามลดน้อยลงที่สุด

ขณะเดียวกัน วิถีธรรมชาติบำบัด มิใช่เพียงการจัดสัดส่วนอาหารเท่านั้น

ยังมีหลักอีก 2 ประการ คือการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

ในทางปฏิบัติใช้โปรแกรมล้างพิษทุก 6 เดือน

ส่วนหลักที่ 3 คือ

การปรับสมดุลของร่างกายและจิตใจ ข้อนี้ทำได้หลายรูปแบบ

เช่น การออกกำลังกาย ฝึกการผ่อนคลาย จัดเวลาสัมผัสธรรมชาติ  

การรำมวยจีน โยคะ ฝึกสมาธิ กระทั่งการนวดการกดจุดตามหลักการฝั่งเข็ม

ความรู้สมัยใหม่ในเรื่องอาหารการกินของคนเรา มีการเปลี่ยนแปลงในสภาพหักหัวเลี้ยวมา 2 ครั้ง

หัวเลี้ยวแรก เกิดขึ้นภายในหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า ผู้คนอยู่ดีกินดี

อาหารการกินแบบชาวตะวันตก

ที่เน้นอาหาร เนื้อสัตว์และไขมันทำให้มีร่างกายสูงใหญ่ ล่ำสัน ดูมีพละกำลัง

ชาวโลกจึงเชื่อว่าแบบแผนชีวิตแบบนั้น เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา

ชาติต่าง ๆ ล้วนตั้งเอาแบบแผนนั้น

เป็นแเนวในการพัฒนาคุณภาพของประชากรของตน

ทุกชาติวัดความเจริญเติบโตของทารกในชาติ ด้วยเส้นกราฟ ตามแบบชาวตะวันตก

ความแข็งแรงของประชากร วัดเอาจากอัตราเร่ง

ในการเพิ่มน้ำหนักตัว ความสูง และปริมาณไขมัน รอบวงต้นแขนของเด็ก

และแล้วสงครามเวียดนาม ก็สร้างความตกใจให้แก่แพทย์และนักโภชนาการอเมริกัน

เพราะจากการตรวจศพทหารอเมริกันที่เป็นหนุ่มฉกรรจ์

อันควรจะถือเป็นประชากรที่แข็งแรงที่สุดของโลก ในเวลานั้น

กลับพบว่า หลอดเลือดหัวใจของอเมริกันหนุ่ม

ล้วนจับคราบไขมันอยู่เขลอะพร้อมที่จะอุดตันได้ทุกเวลา

เมื่อเทียบกับการตรวจศพทหารเวียดนาม

และบันทึกของการตรวจศพทหารสัมพันธมิตรในสงครามโลก ครั้งที่ 2

เกิดอะไรขึ้นในระยะเวลา 20 ปี

คำตอบก็คือ วิถีชีวิตที่เสพสุขเกินขนาด โดยเฉพาะการบริโภคไขมันและเนื้อสัตว์มากเกินไป

Cr. การล้างสารพิษโดยวิธีธรรมชาติ