รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

เบต้าแคโรทีน (β-carotene)

เบต้าแคโรทีน เป็นสารเหลือง แดง พบในพืช เช่น ยอดแค 8.6 ใบกะเพรา 7.9 ใบเสาวรส 7.3 ใบขี้เหล็ก 7.2 เห็ดขมิ้น 5.5 ใบเตย 3.0 มะม่วงแก้วสุก 2.0 ผักกาดเขียว 1.3 คาโรทีนอยด์ในพืชมากกว่า 65% เป็นเบต้าแคโรทีน แคโรทีนในพืชสีเขียว จะดูดซึมลำไส้ ได้ดีกว่าแคโรทีนจากพืชสีเหลืองหรือสีแดง 2-3 เท่าตัว

ฤทธิ์ทางชีวภาพ

ในทางเดินอาหาร เบต้าแคโรทีน ประมาณ 15% สามารถดูดซึมได้ และ 3% ของแคโรทีนในกระแสโลหิตใช้เป็นสารเริ่มต้นของการสังเคราะห์ไวตามิน A 10% เก็บไว้ในตับ 85% สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน ส่วนที่เหลืออยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกายและให้ฤทธิ์ เช่น

ก.ต่อต้านออกซิเดชั่น

ในทางระบาดวิทยาพบว่า ผู้ที่กินอาหารประเภทผักผลไม้ ซึ่งมีเบต้าแคโรทีนสูงเป็นประจำ จะลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอดได้มาก

ข.ให้ฤทธิ์ของไวตามิน A

ปกติเมื่อร่างกายต้องการไวตามิน A เบต้าแคโรทีน 6 มก. จะถูกเปลี่ยนในตับเป็นไวตามิน A 1 มก. และให้ฤทธิ์ต่างๆ ของไวตามิน A ในสัตว์ทดลอง ที่ขาดโปรตีน จะไม่มีการเปลี่ยนนี้

ค.เพิ่มระดับเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิด natural killer T cells และ T helper cells

ประโยชน์

เบต้าแคโรทีน นิยมใช้แต่งสีอาหาร เป็นสารต้านออกซิเดชั่น ให้ฤทธิ์ของไวตามิน A ในทางยา ใช้ลดอาการแพ้แสงในผู้ป่วย erythropoietic protoporphyria บางคน

การใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร US.FDA แนะนำให้ใช้ 5.2 มก.ต่อวัน ตัวอย่างเช่น

-สารสกัดจากสาหร่าย Dunaliella ซึ่งมีเบต้าแคโรทีน 15 มก.

-ผลิตภัณฑ์บำรุงสายตาซึ่งมีเบต้าแคโนทีน จากสาหร่าย D. salina 6 มก. Zeaxanthin จากกลีบดอกดาวเรืองใหญ่ (Tagetes erecta) 2 มก. สารสกัดสมุนไพร (ซึ่งมี anthocyanins) สังกะสี ทองแดง ไวตามิน C ไวตามินE ไนอาซิน และไวตามิน B2


– เครื่องดื่ม Green Gold ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดจาก alfalfa และ ข้าวบาร์เลย์ เบต้าแคโรทีน คลอโรฟิลล์ chromium picolinate พร้อมด้วย L.acidophilus, B. bifidum และ S. faecium

ข้อควรระวัง

การได้รับเบต้าแคโรทีนมากเกินไปจนระดับแคโรทีนในเลือดสูงเกิน 0.2-2.4 มก./ลิตร ทำให้เกิด carotenemia คือผิวหนังมีสีเหลืองอ่อนๆ อาจมีอาการคัน ผื่นคันบ้าง

อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อหยุดบริโภค ถ้าได้รับแคโรทีนสู.เกิน 2.2-6.1 มก./ลิตร อาจทำให้เกิด xanthosis cutis แต่ระดับที่สูงมากถึงขนาด 180 มก./วัน จะไม่เป็นพิษต่อตับเหมือนไวตามิน A ขนาดสูง

จากการวิจัยในโครงการ CARET เพื่อหาแนวทางป้องกันมะเร็งปอดในผู้ที่สูบบุหรี่ด้วยเบต้าแคโรทีน โดยให้สารเบต้าแคโรทีนบริสุทธิ์ 30 มก./วัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 50,000 IU ของไวตามิน A หรือแครอทขนาดกลาง 5 หัว ร่วมกับไวตามิน A 25,000 IU.

แก่ชาวอเมริกันกลุ่มเป้าหมาย 22,071 คน ได้เพียง 12 ปีก็ต้องหยุดการทดลอง เพราะพบอัตราการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น 28 % และการตายจากมะเร็งเพิ่มขึ้น 17%

ดังนั้นการใช้สารบริสุทธิ์อาจไม่ดีต่อสุขภาพ เท่าของจากธรรมชาติ และการป้องกันด้วยอาหาร/พฤติกรรมที่ถูกต้อง จะดีกว่าการรักษา