รวมความรู้ด้านสุขภาพ Health Knowledgeสารอาหารบำบัดโรค Nutrition

เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum Karst วงศ์ Polyporaceae)

เห็ดหิ้ง เห็ดอมตะ เห็ดเล่งจือ เห็ดหิมะ เห็ดขอนไม้ เห็ดนางกวัก เห็ดหมื่นปี Ling Zhi, Reishi, Mannentake, Lacquered Mushroom, Holy Mushroom

หลินจือ เป็นเห็ดที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน มีต้นกำเนิดจากภูเขาในประเทศจีน ในธรรมชาติ พบได้ในที่อากาศเย็น ชุ่มชื้น

ในไทยพบทุกภาคทั้งในป่าและชุมชน โดยเฉพาะรอยต่อของป่าดิบชื้นกับป่าโปร่ง โดยชอบขึ้นกับต้นไม้หลายชนิดที่หมดอายุแล้ว เช่น มะขาม มะม่วง มะพร้าว แก้ว เห็ด พวก Garnoderma นี้ มีหลายชนิด (species)

ในประเทศไทยพบได้มากกว่า 20 สายพันธุ์ แต่เฉพาะบางสายพันธุ์เท่านั้นที่มีการศึกษา 

เห็ดในวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญ คือ ใต้หมวกไม่มีครีบแต่มีรูเล็ก ซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์ ดอกเห็ดแผ่บาน รูปร่างคล้ายจวัก ที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ ชนิดสีแดง และชนิดสีม่วง ซึ่งรูปร่างลักษณะเหมือนกันต่างกันแค่สีภายนอก

ที่พบมากคือชนิดสีแดง ดอกเห็ดแข็งเหมือนไม้ ผิวด้านบนเป็นวงหรือเป็นชั้น เป็นมัน มีรอยย่นเป็นแนวรัศมีออกจากกลางดอก ปลายนอกสุดของหมวกเห็ดจะบาง

ขณะเจริญเติบโตปลายนี้จะเชิดขึ้น แต่เมื่อแก่จะงุ้มลง ชนิดสีแดงเมื่ออ่อนมีสีขาวเหลือง และค่อยเข้มขึ้น ก้านดอกมีสีน้ำตาลแดงติดกับดอกด้านข้าง

ส่วนชนิดสีม่วงผิวของหมวกและก้านจะมีสีดำอมม่วงหรือสีดำ หมวกด้านล่างเป็นสีน้ำตาล

การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว

แม้เห็ดจากธรรมชาติมีปริมาณสารสำคัญสูงกว่าเห็ดเพาะเลี้ยง แต่ความต้องการที่สูง ประกอบกับการเพาะเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยากมาก จึงมีการเพาะ แพร่หลายทั่วประเทศ

แต่อาจต่างสายพันธุ์และอาจกลายพันธุ์บ้าง มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยการเพาะปลุกและขยายพันธุ์ด้วย

ปัญหาที่พบมากมาจากการติดเชื้อจาก ไร จุลินทรีย์ เชื้อรา เช่น Penicillium, Trichoderma, Aspergillus

การเก็บเกี่ยว ในจีนจะเก็บเห็ดช่วงที่เจริญเต็มที่และกำลังจะทิ้งสปอร์ จากนั้นล้างสะอาดหั่นเป็นชิ้น ผึ่งแดด ในไทยจะใช้เวลาเพาะเลี้ยงประมาณ 3 เดือน จึงนำมาใช้ เพราะเห็ดอ่อนหรือเห็ดที่ยังไม่ได้อายุ จะมีสารอัลคอลอยด์ที่เป็นพิษ

องค์ประกอบสำคัญ

นอกจากสารอาหาต่างๆ คือ โปรตีน 24 % คาร์โบไฮเดรตต 42% และไขมัน 4% โดยประมาณ รวมทั้งไวตามินและเกลือแร่ (จากข้อมูวิจัยของNippon Shokuhin  Bunseki Center)

ยังพบว่า หลินจือมีสารสำคัญกว่า 200 ชนิด เห็ดชนิดสีแดงและสีม่วงมีสารสำคัญต่างชนิดกันบ้าง สารเหล่านีี้แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ

ก.กรดอินทรีย์ กลุ่ม triterpene มีรสขม พบประมาณ 100ชนิด ที่สำคัญคือ

ganoderic acids A, B, C1, C2, D1, D2, E1, E2, F, G, H, I, J, T, U, V, W, X, Y, Z

lucidenic acids A, B, C, D1, D2, E1, E2, F, ganolucidic acids A, B, C

ganosporeric acid A พบในสปอร์ของเห็ดหลินจือ

ข.สาร polysaccharides เช่น BN3A, BN3B, BN3C, BN3C2, BN3C3, BN3C4

ค.สารอื่นๆ เช่น -โปรตีน Ling-Zhi 8 เอนไซม์ proteinase, fungal lysozyme

-protoalkaloids และกรดอะมิโน เช่น adenine

-peptidoglycan เช่น ganoderan A, B, C

-สเตียรอยด์ เช่น ganodersterone

ฤทธิ์ทางชีวภาพ

หลินจือมีฤทธิ์กว้างขวางดังตารางที่ 1 และตัวอย่างต่อไปนี้

ศูนย์เห็ดอรัญญิก พบว่า สามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคปวดข้อ ภูมิแพ้ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ กว่า 200 ราย โดยการใช้ร่วมกับไวตามิน C พร้อมทั้งควบคุมอาหารและทำสมาธิ แม้แต่ผู้ป่วย HIV ก็มีอาการดีขึ้น

ระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบรรเทาอาการในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ไขมันในเลือดสูง ขยายหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงหัวใจ

เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อหัวใจต่อภาวะขาดเลือด ลดการใช้ออกซิเจนของเซลล์ ช่วยให้ร่างกายทนต่อภาวะขาดออกซิเจนได้ดีขึ้น

สารสกัดลดความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีผลในกลุ่มผู้มีความดันโลหิตปกติ หรือสูงเล็กน้อย และลดความเหนียวข้นของเลือดด้วย และสารสกัดด้วยน้ำ ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

สารสกัดเห็ดช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยฉายรังสี เคมีบำบัด ฯลฯ เพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และฮีโมโกลบิน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบ โลหิตจาง

ผงเห็ดลดคอเลสเตอรอลในเลือดหมู ส่วนสารสกัดแอลกกอฮอล์ ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลรเซอไรด์

ระบบประสาท สารสกัดจากเห็ดช่วยสงบประสาท รักษาโรคจิตท้อแท้ (neurasthenia) และโรคนอนไม่หลับ (insomnia) ได้ดี ส่วนสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์แก้ปวด ต้านการชัก แก้ไข ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ระบบทางเดินหายใจ หลินจือช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้้ผลดี

ระบบย่อยอาหาร สารสกัดเห็ดช่วยเพิ่มความอยากอาหาร รักษาความผิดปกติของตับ รักษาโรคตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ลดการอักเสบของตับโดยกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน NA

steroid ganodosterone ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ ญี่ปุ่นนำมาทำยาบำรุงตับ

สารสกัดจาก G, lucicum, G.neo-japonicum และ G.formosanum ป้องกันการบาดเจ็บและเสริมสมรรถภาพตับ อาจโดยกระตุ้นการสร้างโปรตีนและกรดนิวคลีอิค

มะเร็ง น้ำสกัดเห็ดยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เนื้องอกชนิด sarcoma 180 เข้าใจว่าสารที่ละลายน้ำได้และมีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่า 10,000 เป็นสารที่ต่อต้านก้อนเนื้องอก

– สารพวก lanostanoid, steroid, และ steryl esters เป็นพิษโดยตรงต่อเซลล์มะเร็งชนิด KB ในหลอดทดลอง

– สารจำพวก polysaccharide และ alkaloid ยับยั้งเซลล์ เซลล์มะเร็ง lewislung อาจช่วยชะลออาการของมะเร็งหรือยืดอายุผู้ป่วย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน glyco polysaccharide ช่วยเพิ่ม macrophage และ lymphocyte

ในขนาดที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T-cell การสร้าง IpG เพิ่ม natural killer cells

– กระตุ้นการทำงานของเซลล์ lymphocyte T จึงชะลอการลุกลามของมะเร็ง กระตุ้นการสร้าง interleukin 21 และ interleukin-1

ระบบภูมิคุ้มกัน สาร β-glucan และโปรตีนบางชนิด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะเซลล์ macrophage, mononuclear cells ได้ดี

ทั้งในสัตว์ทดลองและในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ยับยั้งได้ทั้งอาการแพ้ผื่นคัน และอาการหอบหืด glycoprotein มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ลดปฏิกิริยาการตอบโต้ของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ

ตารางที่ 1 ตัวอย่างสารสำคัญและฤทธิ์ที่มีในเห็ดหลินจือ

ฤทธิ์ สารสำคัญ หมายเหตุ
เพิ่มภูมิคุ้มกัน polysaccharides
polysaccharides BNC
เพิ่มประสิทะฺภาพ T-cell
ช่วยต้านมะเร็งตับ
ต้านมะเร็ง protein LZ-8
polysaccharides GL-1, C-G-2
polysaccharides protein complex
β-D-glucans, β-D-glucans G.A
β-D-glucans F-1-1a, 1-β, F-1-1a 2-
β-ganoderic acids U, V, W, X, Y, Z
เพิ่ม macrophage และ
lymphocyte branching
ที่ต่างกันทำให้ต้านมะเร็ง
ได้แตกต่างกันด้วย
ช่วยต้านมะเร็งตับ
Antihepatotoxic
(antitumor)
Ganoderic acid R.S.
Ganodosterone
polysaccharide BN3C
ช่วยต้านมะเร็งตับ
กระตุ้นการสร้างโปรตีนในตับ
 antihepatotoxic
ต้านอนุมูลอิสระ
น้ำสกัด
สารสกัดเอธานอล
RNA 
ลดการสะสมของไขมันในตับ
interferon inducing
 
 ป้องกันรังสี polysaccharides  ต้านพิษที่เกิดจากการฉายรังสี 
 ต้านไวรัส polysaccharides Ds  ยับยั้งการสังเคราะห์ CL 
ลดคอเลสเตอรอล
กัน therosclerosis 
สารสกัด
 
เพิ่มไขมันในเลือดทั้ง CL, PL, TG 
บำรุงหัวใจ
(cardiotonic) 
polysaccharides, uridiune, 
uracil, adenosine 
เพิ่มแรงบีบโดยไม่เพิ่มอัตราการ
เต้นขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด 
ลดการอักเสบ β-glucan G-A
กดระบบประสาทส่วนกลาง 
 ระงับปวด แก้ไข
ลดความดันโลหิต
adenosin
ganoderna B
ganoderic acids, B, D, F, H, K, S, Y
น้ำสกัดจาก mycelium มีผลยับยั้ง
ฤทธิ์ของ sympathetic nerve เพิ่ม
ระดับอินซูลิน ลด glycogen ในตับ 
ลดน้ำตาล
ยับยั้งการหลั่ง
histsmine 
Ganoderans A, B, C
Ganoderic acid C,D
Cyclooctasulfur, protein LZ-8 oleic acid 
 อาจทำปฏิกิริยากับ membrane 
protein ป้องกัน anaphylaxis
induce membrane stabilization

โรคเบาหวาน ganoderan B กระตุ้นระดับอินซูลินในเลือด เอนไซม์ glucokinase, phosphofructokinase, และ glucose 6-phosphate dehydrogenase ในตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

ประโยชน์

ชาวจีนได้ใช้หลินจือเป็นยารักษาโรคมากว่าสองพันปี มีฤทธิ์เป็นกลาง รสหวาน ช่วยบำรุงหัวใจ เพิ่มพลังตับและม้าม ฯลฯ ถือเป็นสมุนไพนที่มีคุณค่าช่วยบำรุงสุขภาพและเป็นยาอายุวัฒนะ

ชาวบ้านไทยก็ใช้บำรุงกำลัง ป้องกันหวัด ป้องกันฝ้า แก้เมาเห็ด แก้ปวดหลัง แก้พิษงูและแมลงสัตว์กัดต่อย และใช้ในโรคภายในบางอย่างซึ่งใกล้เคียงกับโรคมะเร็งในปัจจุบัน

ปัจจุบันนิยมใช้บำรุงร่างกาย และมีการใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ บำรุงสมอง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน รักษาโรคมะเร็งหลายชนิด โรคภูมิแพ้ และใช้ในโรคต่างๆ อีกมาก รวมทั้งใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางด้วย

ข้อควรระวัง

แม้การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังพบว่า เห็ดหรือสารสกัดมีพิษต่ำมาก แต่ตำรายาจีนระบุว่า อาจมีอาการท้องเสียในช่วงแรกของการใช้ (14 วัน) ซึ่งเนื่องจากการขับพิษสะสม

โดยสาร germannium (พบใน โสม กระเทียม) และปรับสมดุลของร่างกาย ในไทยพบอาการถ่ายท้อง ปากแห้ง คอแห้ง ท้องอืดและผื่นคันได้ในบางคน และบางคนอาจแพ้สปอร์หรือเห็ดทั้งดอกได้ สายพันธุ์ที่ใช้ควรถูกต้องและไม่ปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์อื่น โดบเฉพาะจากราเขียว

รูปแบบและขนาดที่ใช้

ตำรายาจีนให้ใช้เห็ดแห้งขนาด 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม โดยต้มพอเดือดแล้วหรี่ไฟลง เคี่ยวต่ออีก 15 นาที ได้น้ำสีเหลือง รสขมเล็กน้อย

ส่วนญี่ปุ่นนิยมใช้เห็ดแห้ง 5 กรัม ต้มน้ำ 1 ลิตร เคี่ยวจนเหลือ 1/2 ลิตร ดื่มแทนน้ำ การใช้เพื่อการรักษาเช่น มะเร็ง จะใช้ในขนาดสูง 2 เท่าร่วมกับไวตามิน C ขนาดสูง การควบคุมอาหารและพฤติกรรม เช่น งดอาหารปรุงแต่ง เนื้อสัตว์ สุรา และบุหรี่

ปัจจุบัน สารสกัดเห็ดหลินจือได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณที่ใช้บำรุงร่างกาย หรืออาจใช้ในรูปสมุนไพรแห้งเป็นแว่น ผง น้ำสกัด (อาจแต่งรสด้วยน้ำผึ้ง ฯลฯ)

เม็ดหรือแคปซูล อาจผสมสาหร่าย ฯลฯ เพื่อเพิ่มคุณค่าการใช้ในรูปแคปซูล โดยเคลือบผงเห็ด (ที่ได้จากการนำน้ำสกัดมา lyophilized) ด้วยสารกันชื้นก่อน น่าจะดีที่สุด เพราะสะดวกต่อการใช้ ดูดซึมในทางเดินอาหารได้ดี และเก็บไว้ได้นานกว่าในรูปอื่นๆ

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตและใช้ในประเทศ เช่น

– เห็ดหลินจือสกัดชนิดชง/ชนิดเม็ด ชาเห็ดหลินจือ เครื่องดื่มเห็ดหลินจือ (องค์การเภสัชกรรม)

– หลินจือแคปซูล และเครื่องดื่มเห็ดหลินจือรสกระเจี๊ยบ (ศูนย์รวมเห็ดอรัญญิก)